เทคนิคการออม

Banner image alt

ออมเงินได้ผลจริง! กับทริคการออมเงินตามแบบนักการเงินระดับโลก

เทคนิคเก็บเงินได้
7/4/2021
Share

Highlight

       “การออมเงิน” คือหนึ่งในวินัยทางการเงินที่ทุกคนต้องมีหากอยากมีชีวิตที่สบายในวันข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมนุษย์เงินเดือนและมนุษย์ฟรีแลนซ์อย่างเรา ๆ ที่มักจะเกิดคำถามว่า เราจะเริ่มเก็บออมอย่างไรเพื่อให้มีเงินมากพอ และใช้ชีวิตอยู่ได้แม้ไม่ต้องทำงาน ไปดูกันเลย 👇

1. สังเกตตัวเองด้วยเทคนิค The Latte Factor โดยนักเขียนชื่อดังด้านการเงิน อย่าง David Bach 
2. เก็บเงินทีละนิดด้วยหลัก 6 JARS ที่ถูกคิดขึ้นโดยนักธุรกิจมหาเศรษฐีชื่อ T. Harv Ekerc

    ออมสบาย! กับเทคนิคลับการออมเงินตามแบบฉบับนักการเงินระดับโลก<

          การออมเงิน คือหนึ่งในวินัยทางการเงินเบื้องต้นที่ทุกคนต้องมีหากอยากมีชีวิตที่สบายในวันข้างหน้า เพราะเงินออม คือ เงินที่เราจะเก็บไว้ดูแลตัวเองและคนรอบข้างในยามจำเป็น เช่น การรักษาพยาบาล ค่าเทอม ค่าผ่อนบ้าน รวมถึงเงินเกษียณที่จะใช้ในยามแก่เฒ่า ดังนั้น หากปราศจากเงินออมก็จะไม่มีอะไรมาการันตีว่า เราจะผ่านวิกฤตที่เกิดขึ้นในชีวิตไปได้อย่างราบรื่นหรือไม่
          ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรเริ่มเก็บออมในวันที่เรายังมีเวลาและกำลังมากพอที่จะไปทำงาน เมื่อเป็นแบบนี้ มนุษย์เงินเดือนและมนุษย์ฟรีแลนซ์อย่างเรา ๆ จึงมักเกิดคำถามว่า เราจะเริ่มเก็บออมเงินอย่างไรเพื่อให้มีเงินมากพอ สำหรับการใช้ชีวิตประจำวันที่อยู่ได้แบบกินอิ่มนอนหลับทุกมื้อ ใช้ชีวิตจากประโยชน์ของการออมเงินให้อยู่ได้แม้ไม่ต้องทำงาน ว่าแล้วก็ไม่รอช้า เพราะวันนี้ Kept by krungsri มาพร้อมกับเทคนิคลับการออมเงินของนักการเงินระดับโลกที่จะช่วยให้คุณมีเงินเก็บได้แบบง่าย ๆ
 

1. สังเกตตัวเองด้วยเทคนิค The Latte Factor

            The Latte Factor ไม่ได้แปลว่าปัจจัยในการทำลาเต้ แต่หมายถึงปัจจัยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำให้เราเสียเงินในแต่ละวัน ซึ่ง The Latte Factor นี้ถูกระบุไว้ในหนังสือ The Automatic Millionaire ที่เขียนโดยนักเขียนทางด้านการเงินชื่อดังอย่าง David Bach โดย Bach ได้รับแนวคิดนี้มาจากการสังเกตชีวิตสาวอเมริกันที่บอกกับ Bach ว่า เธอมีเงินเดือนน้อย อย่าว่าแต่ลงทุนเลย จะเริ่มเก็บออมก็เป็นเรื่องที่ยากแล้ว ซึ่งหลังจากที่ Bach เชิญหญิงสาวคนนี้มาสัมภาษณ์ก็พบว่า เธอเสียเงินให้กับการซื้อกาแฟทุกเช้า จนตั้งข้อสังเกตว่า การเสียเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปในทุกวัน เมื่อรวม ๆ กันแล้วก็จะได้เงินก้อนจำนวนหนึ่งที่อาจจะเยอะจนเราคิดไม่ถึง เช่น หากเราซื้อกาแฟแก้วละ 80 บาททุกวัน เราก็จะพบว่าเดือนนึงเราเสียค่ากาแฟไปมากถึง 2,400 บาท หรือเป็นจำนวนถึง 28,800 บาทต่อปีเลยทีเดียว

               เมื่อเป็นแบบนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่า หากไม่ได้กินกาแฟ แล้ว The Latte Factor นั้นเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์หรือความสำคัญของการออมเงินอย่างไร บอกได้เลยว่าเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมาก ลองคิดดูง่าย ๆ ว่า เดือน ๆ นึงเราต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับเรื่องจิปาถะ และบ่อยครั้งแค่ไหนที่เราต้องเสียเงินไปกับการซื้อชานมไข่มุก กินบุฟเฟ่ต์ ชาบู ปิ้งย่าง อาหารหรู หรืออาจจะเป็นค่าวินมอเตอร์ไซค์ เครื่องสำอาง บุหรี่ เหล้า รวมถึงของใช้ต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็นต่อชีวิต เมื่อคำนวณออกมาแล้ว จะรู้ได้เลยว่าเงินทั้งหมดที่เสียไปมีจำนวนมากแค่ไหน หากเปลี่ยนมาเริ่มเก็บออมอาจมีเงินก้อนมากพอไว้สร้างตัวได้เลย
รปคน5.jpg
              เมื่ออ่านถึงตรงนี้ คุณอาจจะสงสัยถึงวัตถุประสงค์ของการออมว่า “ไม่ให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตเลยเหรอ” หรือไม่ก็ “เราไม่สามารถเลือกความสะดวกสบายให้ชีวิตเลยใช่ไหม” คำตอบคือไม่ใช่! และเราไม่ได้จะให้คุณตัดทุกค่าใช้จ่ายทิ้งเพื่อนำมาเป็นเงินเก็บ แต่เราแค่อยากให้คุณนำเงินที่จ่ายมาวิเคราะห์ให้ดี โดยการลองนับวันที่คุณซื้อกาแฟ รวมถึงทำบัญชีค่าใช้จ่ายดูว่ามีเงินส่วนไหนที่สามารถตัดหรือลดค่าใช้จ่ายเพื่อเริ่มเก็บออมได้หรือไม่ หรือว่ามีทางเลือกอื่น ๆ ในการเก็บเงินเพิ่มเติมอีกหรือไม่ เช่น การซื้อเครื่องกาแฟมาทำเองหรือหาร้านที่ราคาถูกลง การเปลี่ยนนิสัยจากกินชาบูทุกอาทิตย์มาเป็นเพียงเดือนละครั้งแทน หรือปกติลงบีทีเอสแล้วต้องนั่งวินราคา 10-15 บาทไปทำงาน แต่เปลี่ยนมาเป็นออกเร็วขึ้นเพื่อเดินไปทำงานดีกว่าไหม เป็นต้น

แแท้จริงแล้ว ประโยชน์ของการออมเงินไม่ได้มีเพียงการเพิ่มเงินในบัญชี แต่เป็นการช่วยให้เรามองเห็นชีวิตในหลายมุมมากยิ่งขึ้น ลองคิดดูว่า หากเรานำเงินที่จ่ายไปกับการสังสรรค์ หรือเป็นค่าอาหาร เครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายในทุก ๆ วัน เราจะมีสุขภาพดีขึ้นขนาดไหน หรือการเดินไปทำงานแทนนั่งวินมอเตอร์ไซค์ก็อาจช่วยให้เราแข็งแรงทีละนิดได้ในแต่ละวัน ดังนั้น หากเราลองปรับมุมมองสักเล็กน้อย เราจะพบว่า การออมเงินคือการต่อทุนไว้ให้ตัวเองในอนาคต ที่สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ จากการปรับชีวิตประจำวันทีละนิด พร้อมขยับขยายด้วยการลงทุนวิธีต่าง ๆ ก็ไม่เสียหาย

 

2. เพิ่มทริคการเก็บเงินนิดด้วยหลัก 6 JARS

 
รปคน5.jpg

เเเทคนิคการออมเงินแบบ 6 JARS ถือว่าเป็นวิธีเริ่มเก็บออมที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ โดยวิธีนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยนักธุรกิจมหาเศรษฐีชื่อ T. Harv Eker ผู้โด่งดังจากหนังสือ Secrets of the Millionaire Mind ภายในหนังสือเล่มนี้ได้มีการเสนอแนวคิดและประโยชน์ของการออมเงินลักษณะนี้ไว้ว่า การออมเงินแบบ 6 โหล คือตัวช่วยให้เราบริหารเงินที่ได้รับมาแต่ละเดือนอย่างลงตัว และทำประโยชน์ได้มากที่สุดแบบหนึ่ง โดยเราสามารถแบ่งโหลทั้ง 6 ได้ตามวัตถุประสงค์ของการออมและลักษณะการใช้ต่อไปนี้

โหลการออมระยะยาว (10%)
            โหลออมเงินเพื่อมีวินัยการออมเงินที่ดีและบรรลุวัตถุประสงค์ของการออม โหลนี้ควรหักออกจากเงินเดือนทั้งหมดเป็นโหลแรก เพราะหากเรามีปัญหาอะไรหรือมีรายจ่ายจำเป็นนอกเหนือรายการอื่น ๆ เราจะได้มีเงินไว้ใช้ โดยหากเงินเดือน 25,000 บาท เราก็ควรจะเก็บออมใส่โหล 10% หรือให้ได้ 2,500 บาทต่อเดือน

โหลรายจ่ายประจำ (55%)
            เป็นโหลที่เราเก็บไว้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั้งหมด เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอาหาร บิลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงค่าสาธารณูปโภคทั้งหมด หากใช้ตัวอย่างเดิมมีเงินเดือน 25,000 บาท เงินที่เราเก็บไว้สำหรับรายจ่ายได้จะอยู่ที่ 13,750 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 55% จากเงินทั้งหมด

โหลการลงทุน (10%)
            หลังจากแบ่งให้โหลอื่น ๆ แล้ว โหลนี้จะเป็นส่วนเงินที่จะนำไปลงทุนตามแบบต่าง ๆ ที่เราต้องการ โดยเราจะแบ่งออมมาลงทุน 10% หรือ 2,500 บาทต่อเดือน

โหลการศึกษา (10%)
            โหลเงินออมนี้ คือต้นทุนสำหรับใช้พัฒนาตัวเอง เช่น การลงคอร์สสอนธุรกิจต่าง ๆ หรือ การพัฒนาตัวเองในด้านอื่น ๆ ที่เราสนใจ ซึ่งเราจะมีเงินส่วนนี้อยู่ที่ 10% หรือ 2,500 บาทต่อเดือน

โหลรางวัลตัวเอง (10%)
            ทำงานมาอย่างหนัก ทุ่มเทเก็บเงินขนาดนี้ การให้รางวัลกับตัวเองสักนิดก็คงจะช่วยให้มีกำลังใจในการเก็บเงิน ออมเงินมีมากขึ้นแน่นอน โดยเงินส่วนนี้เราจะนำไปทำอะไรก็ได้ที่เราอยากทำ ซึ่งงบต่อเดือนจะอยู่ที่ 10% หรือ 2,500 บาท

โหลแบ่งปัน (5%)
            โหลสุดท้ายเก็บออมที่ 5% มีไว้เพื่อแบ่งปันสังคม เช่น การบริจาคต่าง ๆ หรืออาจจะเป็นการซื้อของขวัญให้เพื่อน ๆ ในโอกาสสำคัญ เช่น วันเกิด หรือ การแต่งงาน เป็นต้น โดยเราสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 1,250 บาทต่อเดือน

       เป็นอย่างไรกันบ้างกับเทคนิคเริ่มเก็บออมตามฉบับนักการเงินชื่อดังที่เรานำมาฝากในวันนี้ เข้าใจไม่ยากแถมทำตามได้ง่าย ๆ แบบไม่กดดันเลยใช่ไหมล่ะ ซึ่ง Kept ขอแอบกระซิบเพิ่มเติมว่า จริง ๆ แล้วเทคนิคทั้ง 2 นี้สามารถนำมาปรับใช้ร่วมกันตามกำลังที่เราไหวได้ด้วยนะ เช่น หากเราสังเกตว่าเรากินกาแฟวันละ 2 แก้ว ตกแก้วละ 80 บาท เราอาจหาซื้อกาแฟร้านที่ถูกลงและนำเงินที่เหลือตรงนี้จากโหลใช้จ่ายประจำวันมาเพิ่มในโหลออมเงินระยะยาวก็ย่อมได้เช่นกัน แถมเทคนิคพิเศษที่เหมาะกับการบริหารเงินอย่างชาญฉลาดในยุคนี้ด้วย

       เป็นอย่างไรกันบ้างกับเทคนิคเริ่มเก็บออมตามฉบับนักการเงินชื่อดังที่เรานำมาฝากในวันนี้ เข้าใจไม่ยากแถมทำตามได้ง่าย ๆ แบบไม่กดดันเลยใช่ไหมล่ะ ซึ่ง Kept ขอแอบกระซิบเพิ่มเติมว่า จริง ๆ แล้วเทคนิคทั้ง 2 นี้สามารถนำมาปรับใช้ร่วมกันตามกำลังที่เราไหวได้ด้วยนะ เช่น หากเราสังเกตว่าเรากินกาแฟวันละ 2 แก้ว ตกแก้วละ 80 บาท เราอาจหาซื้อกาแฟร้านที่ถูกลงและนำเงินที่เหลือตรงนี้จากโหลใช้จ่ายประจำวันมาเพิ่มในโหลออมเงินระยะยาวก็ย่อมได้เช่นกัน แถมเทคนิคพิเศษที่เหมาะกับการบริหารเงินอย่างชาญฉลาดในยุคนี้ด้วย แอปพลิเคชัน Kept โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่ทำให้เราบริหารจัดการเงินได้ง่ายและสนุกขึ้น ด้วยการทำงานร่วมกันอัตโนมัติของ 3 บัญชี ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือน 1 กระเป๋า 2 กระปุก (บัญชี Kept, Grow, Fun) ช่วยให้คุณบรรลุวัตถุประสงค์ของการออมได้ตามเป้าหมาย อยากรู้ว่าดียังไง คลิกด้านล่างนี้ สุดท้ายนี้ ถึงความสำคัญของการออมจะอยู่ที่การมีเงินใช้ในอนาคต แต่ก็ต้องอย่าลืมว่า เราเองก็ต้องใช้ชีวิตในปัจจุบันเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ขออย่าได้กดดันและประหยัดจนไม่มีความสุขล่ะ



Download Kept.jpg