วัยทำงานต้องรู้! วิธีแบ่งเงินเดือนยังไงให้พอใช้ฉบับง่าย
Highlight
‘เงินเดือน’ คือสิ่งอัศจรรย์ เพราะออกปุ๊บ หมดปั๊บ ไม่ทันรู้ตัวว่าหายไปไหน ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหา บทความนี้จึงมาแชร์วิธีแบ่งเงินเดือนยังไงให้พอใช้โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ตั้งเป้าหมายการออมเงิน เมื่อได้รับเงินเดือน สิ่งแรกที่ควรทำคือแบ่งเงินจำนวน 20-30%
- จัดสรรเงินเดือนเป็นส่วน ๆ เงินที่เหลือจากการเก็บ ให้นำมาแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ
- จัดสรรเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับลงทุนเริ่มต้นที่ 5-10% ก็น่าพอใจแล้ว การลงทุนจึงควรเน้นไปที่ประเภทความเสี่ยงต่ำ
- จัดลำดับความสำคัญของการชำระหนี้
บอกต่อวิธีแบ่งเงินเดือนยังไงให้พอใช้ ทำตามได้ง่ายๆ
“นี่เงินเดือนหรือเงินทอน”
เชื่อว่าเหล่าวัยทำงานหรือมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายน่าจะคุ้นหูกับมุกนี้เป็นอย่างดี ที่ถึงแม้จะพูดเอาฮา แต่ในใจก็คงมีแอบน้ำตาตกกันบ้าง เพราะเงินเดือนไม่พอใช้ ได้มาแป๊บ ๆ ไม่ถึงกลางเดือนก็เกือบหมดแล้ว ซึ่งหากปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จะไม่ไหวได้ ด้วยอายุที่มากขึ้น แต่ความมั่นคงกลับไม่มากขึ้นตาม ยังใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน แน่นอนว่าเมื่อแก่ตัวย่อมลำบาก ดังนั้น ก่อนที่จะสายเกินแก้ บทความนี้จึงจะมาบอกต่อเคล็ดลับวิธีแบ่งเงินเดือนยังไงให้พอใช้ ฉบับง่าย ที่มนุษย์เงินเดือน หรือแม้แต่ฟรีแลนซ์ทุกคนทำตามได้ ติดตามได้เลย
ปัญหาที่ทำให้วัยทำงานมีเงินเดือนไม่พอใช้
ก่อนที่จะไปถึงวิธีแบ่งเงินเดือนยังไงให้พอใช้ซึ่งเป็นส่วนของการแก้ปัญหา ควรต้องย้อนกลับมาที่ต้นเหตุของปัญหาก่อนว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เงินเดือนไม่พอใช้
แน่นอนว่าเงินเดือนน้อยคือปัจจัยหลัก แต่เชื่อว่าก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เงินเดือนมีพอให้เหลือเก็บ ทว่าก็ไม่สามารถมีเงินเหลือไปจนถึงสิ้นเดือนอยู่ดี ดังนั้น ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่เงินเดือนน้อย แต่อาจเกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้
-
ไลฟ์สไตล์ที่เกินตัว แพ้กับคำว่า “ของมันต้องมี”: เห็นเพื่อนซื้อกระเป๋ารุ่นใหม่ก็อยากซื้อตามบ้าง หรือบางครั้งก็นึกใจป๋า อยากเลี้ยงดินเนอร์สุดหรูแฟน โดยที่ไม่ได้ดูเลยว่าเหลือเงินในกระเป๋าเท่าไร ไลฟ์สไตล์แบบนี้นี่แหละคือหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เงินเดือนไม่พอใช้
-
ใช้จ่ายเงินโดยไม่วางแผน: ถึงแม้เงินเดือนจะเยอะ แต่ถ้าใช้จ่ายอย่างไม่รู้จักวางแผน ไม่รู้วิธีแบ่งเงินเดือนยังไงให้พอใช้ อยากได้อะไรก็ซื้อเดี๋ยวนั้น รู้ตัวอีกทีกระเป๋าเงินที่ตุงก็แฟบลงโดยไม่รู้ตัว
-
เอาเงินในอนาคตมาหมุน: ข้อนี้ถือเป็น ‘กับดักทางการเงิน’ ที่วัยทำงานหลายคนกำลังประสบ เพราะเมื่อควบคุมกิเลสตัวเองไม่ได้ อยากได้อยากมี แต่ไม่มีเงินในกระเป๋า สิ่งที่เลือกทำคือการเอาเงินในอนาคตมาใช้ หรือการใช้บัตรเครดิตมีกี่ใบก็รูดปื้ด ๆ และไม่สามารถจ่ายเต็มจำนวนได้ ทำให้ต้องมาเสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกด้วย
เมื่อได้เงินเดือนมาต้องทำอย่างไร?
เมื่อได้ทราบถึงปัญหาที่ทำให้ ‘กระเป๋าเงินรั่ว’ เก็บเงินเดือนไม่อยู่กันไปแล้ว ก็ควรที่จะหยุดพฤติกรรมเหล่านั้น อาจจะไม่ต้องถึงขั้นหักดิบ แต่ลองค่อยๆ ปรับเปลี่ยนทีละนิดก็ยังดี ส่วนขั้นต่อไปของวิธีแบ่งเงินเดือนยังไงให้พอใช้คือ การวางแผนจัดการบริหารเงินเดือนอย่างเป็นระบบ โดยสามารถลิสต์ออกมาเป็นข้อๆ ได้ดังต่อไปนี้
-
ตั้งเป้าหมายการออมเงิน: เมื่อได้รับเงินเดือน สิ่งแรกที่ควรทำคือแบ่งเงินจำนวน 20-30% (อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม) ไปไว้ในอีกบัญชี ซึ่งควรเป็นบัญชีฝากประจำที่ยากต่อการถอนมาใช้ และตั้งปณิธานว่านี่คือเงินเก็บ ห้ามใช้เด็ดขาด!
-
จัดสรรเงินเดือนเป็นส่วน ๆ: เงินที่เหลือจากการเก็บ ให้นำมาแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ เช่น ค่าเดินทาง, ค่ารับประทานอาหาร, ค่าโทรศัพท์, ค่าไฟฟ้า, ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น เพื่อให้ได้ทราบว่าแต่ละเดือนเราหมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายส่วนไหนเท่าไร และถ้าส่วนไหนที่ใช้เงินมากเกินไป ก็จะได้วางแผนปรับลด
-
จัดสรรเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับลงทุน: นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายทั้งหมด ควรกันเงินอีกส่วนหนึ่งไว้สำหรับลงทุนด้วย อาจจะไม่ต้องมาก เริ่มต้นที่ 5-10% ก็น่าพอใจแล้ว เนื่องจากเงินเฟ้อในปัจจุบันมากกว่าดอกเบี้ยในบัญชีฝากประจำ ซึ่งหนทางเอาชนะเงินเฟ้อคือการลงทุน
-
จัดลำดับความสำคัญของการชำระหนี้: สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เงินเดือนไม่พอใช้คือ การที่ต้องนำเงินเดือนไปชำระหนี้ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม หนี้บางหนี้ก็สามารถผลัดการชำระไปได้โดยไม่กระทบดอกเบี้ยมาก ดังนั้น อีกวิธีแบ่งเงินเดือนยังไงให้พอใช้จึงควรจัดลำดับการชำระหนี้ให้ดี และควรเลือกเก็บเงินสดกับตัวไว้บ้าง
การลงทุนสำหรับผู้มีรายได้ไม่มาก
เมื่อเป้าหมายคือวิธีแบ่งเงินเดือนยังไงให้พอใช้ ดังนั้น การลงทุนจึงควรเน้นไปที่ประเภทความเสี่ยงต่ำ เพราะถ้าไปลงทุนแบบความเสี่ยงสูง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ จากที่จะเก็บเงินได้มากขึ้น อาจกลายเป็นขาดทุนจนเงินเดือนไม่พอใช้ยิ่งกว่าเดิม โดยการลงทุนความเสี่ยงต่ำที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่มากมีดังต่อไปนี้
-
หุ้นกู้: เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากเป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อระดมทุนสำหรับใช้ในกิจการต่าง ๆ ของบริษัท มีลักษณะเป็นหนี้ซึ่งผู้ออกต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญาที่กำหนดไว้
-
พันธบัตรรัฐบาล: ลักษณะคล้ายกับหุ้นกู้ เพียงแต่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ จึงทำให้เป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง และความเสี่ยงต่ำมาก อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่ได้ก็อาจจะน้อยกว่าหุ้นกู้เล็กน้อย
-
กองทุนรวมบางประเภท: เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมเหล่านี้มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากมีการกำหนดดอกเบี้ยที่แน่นอน และดอกเบี้ยที่ได้ก็สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
-
ฝากเงินกับบัญชีเงินฝากออนไลน์: เพื่อจูงใจคนให้หันมาฝากเงินกับบัญชีออนไลน์ ซึ่งเป็นการฝากเงินรูปแบบใหม่ ธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าของแอปพลิเคชันฝากเงินจึงมีการเสนอดอกเบี้ยฝากเงินที่สูงกว่าการฝากแบบดั้งเดิม และความเสี่ยงต่ำ
คำเตือน การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
เก็บเงินเดือนให้พอใช้ไม่ใช่เรื่องยากถ้ามีตัวช่วย!
ถึงตรงนี้ เชื่อว่าทุกคนน่าจะทราบถึงวิธีแบ่งเงินเดือนยังไงให้พอใช้กันแล้ว ต่อไปก็ขึ้นอยู่กับวิธีการนำไปปรับใช้ และถ้าหากอยากจัดการเงินเดือนให้พอใช้และเหลือเก็บได้ง่ายขึ้น ควรมีตัวช่วยอย่าง Kept by krungsri แอปการเงินแนวใหม่ ช่วยบริหารเงิน ออมเงินได้เป็นระบบ ออมสนุกไม่เหมือนใคร บัญชีออนไลน์ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์เก็บเงินอัตโนมัติหลากหลาย ผ่านการทำงานร่วมกันของบัญชี เงินฝากออนไลน์ในแอป แบบ 1 กระเป๋า หลายกระปุก บริหารเงินง่ายกว่าเดิม ใช้กระเป๋า Kept เป็นบัญชีหลักในการใช้จ่าย กระปุก Grow เป็นกระปุกไว้เก็บเงินก้อน เพราะให้ดอกเบี้ยสูงสุดถึง 2% ต่อปี* และจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน ถอนได้ไม่มีเงื่อนไข กระปุก Fun เป็นกระปุกไว้แอบสะสมเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถตั้งค่าให้เก็บเงินทุกครั้งที่โอนจ่ายจากแอป หรือสั่งเก็บเงินสม่ำเสมอได้ และกระปุก Together ที่จะช่วยให้คนรุ่นใหม่เก็บเงินได้อย่างเห็นผล เป็นสัดส่วนชัดเจน ให้เราจัดการเงินได้ตามเป้าหมาย จะตั้งชื่อ ใส่รูปเป็นแรงบันดาลใจเก็บออมได้ด้วย ออมได้แบบไม่ต้องคิดเยอะดาวน์โหลดแอปการเงิน Kept by krungsri ได้แล้ววันนี้ที่ App Store และ Google Play Store โหลดเลย
*อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศธนาคารกรุงศรีอยุธยา