เกษียณตัวเองไวกว่าที่คิด เพียงรู้เทคนิคสร้างวินัยการออม
Highlight
หลายคนอาจจะทำงานไปใช้เงินไปและมองว่าการเกษียณเป็นเรื่องที่คนอายุ 30 ขึ้นไปคิดกัน แต่จริงๆแล้วมนุษย์เงินเดือนอย่างเราจะมีเวลาหาเงินโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 40-45 ปี ซึ่ง 40 กว่าปีอาจกลายเป็นศูนย์ได้ในทันที หากเราไม่มีวินัยในการออมเงินที่ดี แล้วจะเริ่มต้นยังไงได้บ้าง?
1. ตกลงกับตัวเองให้เรียบร้อย
2. สำรวจการเงินปัจจุบันของตัวเอง
3. สำรวจหนี้ในมือ
4. จัดการหนี้หมดแล้วก็ต้องออม
5. ติดตามผลลัพธ์ทุก 6 เดือน
6. หาแนวทางต่อยอดเงิน
เกษียณตัวเองไวกว่าที่คิด เพียงรู้เทคนิคสร้างวินัยการออม
ทุกคนรู้ว่า การออมเงินเป็นการสร้างเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินและจะช่วยให้ชีวิตยามเกษียณสบายโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้อยคนนักที่จะรู้ว่า การสร้างวินัยการออมเงินที่มีประสิทธิภาพและไม่กดดันตัวเองมากเกินไปต่างหากที่จะช่วยให้เรามีเงินเก็บได้ไวมากกว่าวิธีใดๆ จนทำให้เกษียณได้เร็วและมั่นคงสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ ๆ หลายคนอาจจะทำงานไปใช้เงินไปและมองว่าการเกษียณเป็นเรื่องที่คนอายุ 30 ขึ้นไปคิดกัน แต่รู้หรือไม่? โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ จะมีเวลาหาเงินโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 40-45 ปี ตั้งแต่อายุ 20 ต้น ๆ ไปจนถึง 65-70 ปีเท่านั้น ฟังแล้วอาจดูเป็นเวลาที่เยอะ แต่จริง ๆ แล้ว เวลา 40 กว่าปีอาจกลายเป็นศูนย์ได้ในทันที หากเราไม่มีวินัยในการออมเงินที่ดี แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะวันนี้ Kept by krungsri มาพร้อมกับเทคนิคดี ๆ ในการวางแผนและฝึกวินัยในการออมเงินเพื่อเตรียมพร้อมให้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างสุขสบาย แล้วจะเริ่มต้นยังไงได้บ้าง? ตามอ่านมาได้เลย!
1. ตกลงกับตัวเองให้เรียบร้อย
การมีวินัยการออมเงินที่ดีต้องเริ่มจากการประมาณตัวเองที่เหมาะสมว่า “เราอยากเกษียณตอนอายุเท่าไหร่” แล้ว “หลังเกษียณต้องใช้เงินต่อเดือนเท่าไหร่”
2. สำรวจการเงินปัจจุบันของตัวเอง
หากตอนนี้เราอายุ 25 ปี เงินเดือนปัจจุบันอยู่ที่ 25,000 บาท อยากเกษียณตอนอายุ 65 ปี คาดว่าตัวเองมีอายุถึง 80 ปี ซึ่งเราสามารถกะเกณฑ์เงินที่สามารถใช้ต่อเดือนได้คร่าวๆ ที่ 80% ของรายได้ปัจจุบัน นั่นหมายความว่า เงินต่อเดือนที่เราจะใช้ช่วงเกษียณจะอยู่ที่ 20,000 บาทโดยประมาณ ซึ่งเงินตรงนี้จะรวมทั้งค่าที่พัก ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล และค่าอุปโภคบริโภคทุกชนิด และต้องใช้อายุหลังเกษียณอีก 15 ปี ดังนั้นเงินที่เราต้องใช้ทั้งหมดหลังเกษียณจะอยู่ที่ 20,000 บาท x 12 เดือน x 15 ปี = 3,600,000 บาท ซึ่งเงินก้อนนี้เรามีเวลาหาและเก็บ 40 ปีนับตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่อยากเกษียณ นั่นเท่ากับว่า เราต้องมีวินัยในการออมเงินและเก็บเงินให้ได้อย่างน้อยปีละ 90,000 บาทนั่นเองการคำนวณลักษณะนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ระหว่างทาง เช่น การซื้อที่อยู่อาศัยและพาหนะเป็นของตัวเอง หรือหากมีครอบครัวก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องลูกเข้ามาอีก ซึ่งนั่นหมายความว่า เราอาจจะมีเงินเก็บขั้นต่ำ 90,000 บาทต่อปีให้ตัวเองไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ นอกจากการวางแผนการเงินและมีวินัยการออมแล้ว เรายังต้องวางแผนเรื่องอื่นๆ และทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้รัดกุมไปพร้อมกันด้วย เช่น ลูกเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงปริญญาตรีใช้เวลาประมาณ 20 ปี และเรามีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องแบกรับมากกว่าค่าเทอม หรือหากลูกเรียนปริญญาโทเพิ่มอีกใบ หรือลูกต้องการแต่งงานด้วย เราจะดูแลรับค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้อย่างไร ณ จุดนี้เราคงต้องเริ่มประมาณตัวเองแล้วว่า เราจะคำนวณเงินส่วนของตัวเอง และส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้อย่างไร
หากตอนนี้กำลังประสบปัญหาลักษณะนี้ Kept by krungsri ขอแนะนำให้สร้างวินัยการออมโดยการหักเงินเก็บอัตโนมัติเข้าบัญชีอย่างน้อย 10% ของรายได้ต่อเดือนก่อนที่จะแบ่งไปจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ โดยวิธีนี้จะช่วยให้เรามีเงินเก็บไปเรื่อยๆ พร้อมกับบริหารค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้อย่างลงตัว นอกจากนี้ การเก็บเศษเหรียญทุกวัน รวมถึงการเก็บแบงก์ย่อยอย่างแบงก์ 20 และ 50 เข้ากระปุกทุกครั้งหลังจากหมดวันก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยเพิ่มเงินไปในตัว
3. สำรวจหนี้ในมือ
เมื่อเราตกลงกับตัวเอง รวมถึงลองบริหารค่าใช้จ่ายและเงินเก็บแล้ว การเสริมสร้างวินัยในการออมเงินให้แข็งแกร่งได้อีกขั้น คือ การคำนวณหนี้สินที่จะไม่รบกวนการออมเงินของเรา โดยเริ่มจากการสำรวจว่า ในแต่ละเดือนเรามีหนี้สินอะไรบ้าง มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่มักมีค่าบัตรเครดิต ค่าบ้าน และค่ารถที่ต้องจ่ายทุกเดือนเรามาสำรวจกันต่อว่า “บัตรเครดิต” ที่เราต้องจ่ายพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือนนั้นจำเป็นหรือไม่ ในความเป็นจริงแล้ว หากเรามีวินัยทางการเงินไม่ดี การมีบัตรเครดิตนี่แหละจะเป็นตัวที่ทำให้เราเสียวินัยการออมและมีเงินเก็บน้อยลงได้ง่ายมาก ลองคิดดูว่า เราใช้บัตรผ่อนของอยู่เท่าไหร่ แต่ละเดือนเราต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่าไหร่ เราแอบเอาเงินมาใช้เพราะหมุนไม่ทันไปแล้วกี่บาท หากเรามองดีๆ ก็จะพบว่า เราอาจกำลังเป็นหนี้โดยไม่จำเป็นอยู่ และเรากำลังใช้เงินก้อนที่สามารถนำมาเก็บแทนได้นั่นเอง ดังนั้น การแก้ปัญหาตรงนี้จะกลับไปจุดที่เราต้องถามตัวเองว่า เรามีวินัยทางการเงินที่ดีแค่ไหน เราห้ามใจตัวเองได้ไหม และเรามีทางเลือกอื่นในการใช้เงินอย่างการใช้เงินสดหรือบัตรเดบิตแทนหรือไม่ นั่นเอง
หากสำรวจบัตรเครดิตเรียบร้อยแล้ว เราจะมาดูในส่วนของหนี้สินอื่นๆ เช่น ค่าบ้าน และ ค่ารถ นั่นเอง โดยหากเราวางแผนที่จะเกษียณตัวเองไว เราก็ต้องจัดการหนี้สินให้เสร็จก่อนที่ะจะเกษียณ การจัดการค่าบ้านและค่ารถนั้นสามารถทำได้ตั้งแต่ลองปรับดอกเบี้ยกับธนาคารไปจนถึงการรีไฟแนนซ์เพื่อลดดอกเบี้ยในการผ่อน ซึ่งการรีไฟแนนซ์นั้นจัดได้ว่าเป็นการบริหารหนี้ที่มีประสิทธิภาพและอาจทำให้เราเก็บเงินได้มากขึ้นอีกด้วย
4. จัดการหนี้หมดแล้วก็ต้องออม
หลายคนอาจคิดว่า พอหมดหนี้ชีวิตก็จะสบายและมีอิสระในการใช้เงินมากขึ้น แต่ Kept by krungsri อยากขอให้ทุกคนไม่ประมาท และแนะนำให้นำรายจ่ายก้อนนี้กลับมาเป็นเงินเก็บ เช่น เราเคยจ่ายค่าบ้าน 9,000 บาทและค่ารถ 9,000 บาท นั่นก็เท่ากับว่า หนี้ส่วนนี้จะอยู่ที่เดือนละ 18,000 บาท ดังนั้น เมื่อหมดหนี้ก้อนนี้ก็เอาเงินที่เคยจ่ายไปเก็บออมแทนในทุกเดือน เพื่อให้มีเงินเก็บเพิ่มต่อเนื่อง ซึ่งวิธีนี้ถือว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้เรามีวินัยในการออมเงินมากยิ่งขึ้น ลองคิดง่ายๆ ว่า หากเรามีวินัยการออมโดยการหัก 10% ทุกเดือน และเราก็ยังเติมเงิน 18,000 บาทเข้าบัญชีเงินเก็บอย่างสม่ำเสมอไปทุกๆ เดือนหลังจากปลดหนี้แล้ว พอนานๆ วันเข้า เก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ เราก็อาจจะตกใจว่าเงินมาจากไหนเป็นกอบเป็นกำเลยล่ะ5. ติดตามผลลัพธ์ทุก 6 เดือน
หากเราทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายสม่ำเสมอ มีการวางแผนในการจัดการเงินที่ดี รู้วิธีการเคลียร์หนี้อย่างถูกต้อง และมีวินัยในการออมเงินอย่างต่อเนื่องเรียบร้อยแล้ว การติดตามผลลัพธ์ของทุกๆ 6 เดือนจะช่วยให้เรารู้ว่า เราต้องปรับแผนไปในทิศทางไหนเพื่อทำให้เงินของเรามีเพียงพอสำหรับวัยเกษียณ หรือต้องมีวินัยการออมเงินที่ดีกว่านี้หรือไม่6. หาแนวทางต่อยอดเงิน
อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เราเกษียณได้เร็วไวไปพร้อมๆ กับสร้างวินัยการออมไปในตัว คือ การหาแนวทางการต่อยอดเงินเก็บอย่างถูกต้อง โดยเราสามารถเลือกลงทุนในกองทุน หุ้น ทองคำ หรือสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ แต่ขึ้นชื่อว่าการลงทุนแล้ว ทุกการตัดสินใจย่อมมีความเสี่ยงทั้งนั้น หากไม่ศึกษาให้ดีก็อาจพลาดท่าเสียทีเป็นหนี้ได้ง่าย ๆ เช่นกัน แต่หากคุณต้องการเสี่ยงดวงแต่อยากคงเงินต้นไว้ การซื้อสลากออมสินก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ นอกจากนี้ การฝากประจำก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่จะช่วยเพิ่มเงินในบัญชีด้วยดอกเบี้ยที่จ่ายประจำทุกปี
หากตอนนี้คุณกำลังมองหาแอปการเงินแบบครบจบในที่เดียวที่จะช่วยให้คุณมีวินัยการออมและการใช้เงินไปในครั้งเดียวล่ะก็ ตอนนี้แอปเก็บเงินแนวใหม่อย่าง Kept by krungsri จะเป็นตัวช่วยที่ดีในยุค cashless society ที่คุณไม่ควรพลาด เพราะแอป Kept มีฟีเจอร์แอบเก็บที่ช่วยเก็บเงินทุกครั้งที่โอนจ่ายออกและสั่งเก็บที่คอยช่วยเก็บเงินให้ ทุกวัน ทุกอาทิตย์ หรือทุกเดือน ตามที่ตั้งค่าไว้ให้การบริหารเก็บออมเงินเป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รับรองว่า บริหารเงินพอใช้หลังเกษียณอย่างเป็นระบบแน่นอน! คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
*ดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศของธนาคารกรุงศรี