เทคนิคการออม

Banner image alt

เช็กด่วน! 5 นิสัยทางการเงินที่อาจทำให้ไม่มีเงินเก็บและมักเงินหมดไม่รู้ตัว

เทคนิคเก็บเงินได้
22/11/2021
Share

Highlight

การใช้เงินฟุ่มเฟือย เป็นหนึ่งในสาเหตุของการไม่มีเงินเก็บ แต่ไม่จริงเสมอไป เพราะในหลาย ๆ ครั้ง การเก็บเงินไม่อยู่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ รอบตัว ซึ่งต่อให้เราประหยัดสุด ๆ แถมทำงานหนักก็อาจทำให้ไม่มีเงินเก็บได้เช่นกัน มาสำรวจ 5 นิสัยทางการเงิน ที่เป็นสาเหตุของการเก็บเงินไม่อยู่กันเลย

1. ไม่ติดตามข่าวจนไม่รู้ว่าเศรษฐกิจตอนนี้ “เงินเฟ้อ” หรือ “เงินฝืด”
2. เปิดบัตรเครดิตหลายใบ
3. ติดกับคำว่า “เดี๋ยวก็หาใหม่ได้
4. แยกไม่ออกระหว่าง “ของมันต้องใช้” กับ “ของมันต้องมี
5. ไม่คิดลงทุน

เช็กด่วน! 5 นิสัยทางการเงินที่อาจทำให้ไม่มีเงินเก็บและมักเงินหมดไม่รู้ตัว

        หลาย ๆ คนอาจมองว่า การใช้เงินฟุ่มเฟือย เป็นหนึ่งในสาเหตุของการไม่มีเงินเก็บ แต่ไม่จริงเสมอไป เพราะในหลาย ๆ ครั้ง การเก็บเงินไม่อยู่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ รอบตัว ซึ่งต่อให้เราประหยัดสุด ๆ แถมทำงานหนักก็อาจทำให้ไม่มีเงินเก็บได้เช่นกัน ดังนั้นวันนี้ใครที่กำลังงงกับตัวเองอยู่ว่า ทำงานมาได้เงินเดือนแต่เงินหายไปไหนหมด Kept by krungsri ชวนทุกคนมาสำรวจ 5 นิสัยทางการเงิน ที่เป็นสาเหตุของการเก็บเงินไม่อยู่ ใครอยากรู้ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ไปเช็กพร้อมกันเลย! 
 

นิสัยที่ 1 : ไม่ติดตามข่าวจนไม่รู้ว่าเศรษฐกิจตอนนี้ “เงินเฟ้อ” หรือ “เงินฝืด

     เรื่อง “เงินเฟ้อ” และ “เงินฝืด” นั้นไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นทั้งสองตัวนี้ จะช่วยให้คนที่ไม่มีเงินเก็บ สามารถวางแผนเก็บเงินในระยะยาวอย่างถูกต้อง โดยแยกอธิบายคำทั้ง 2 แบบคร่าว ๆ ดังนี้
 

1. เข้าใจเงินเฟ้อ

     เงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ข้าวของเครื่องใช้ในตลาด รวมถึงบริการต่าง ๆ มีราคาที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากความต้องการซื้อของประชาชนเอง รวมถึงต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการที่สูงขึ้นจนทำให้ราคาข้าวของแพงและหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน เงินเฟ้อก็จะทำให้คนทั่วไปอย่างเรา ๆ ต้องจ่ายค่าครองชีพสูงขึ้น ส่งผลให้จำเป็นต้องใช้เงินฟุ่มเฟือยมากขึ้น ทำให้คนเก็บเงินไม่อยู่ จนสุดท้ายก็ซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ลดลงทำให้ส่งผลต่อธุรกิจอื่น ๆ โดยรอบ และอาจเกิดเป็นหนี้สินเพิ่มได้ ที่สำคัญ เงินเฟ้อยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลง ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงนำเงินออกไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งหากยิ่งปล่อยไว้นาน การลงทุนเหล่านี้ก็ทำให้เกิดปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ เกิดเป็นหนี้สินในครัวเรือน จนในที่สุดก็ไม่มีเงินเก็บสำรองไว้ใช้จ่าย
 

2. เข้าใจเงินฝืด

     เงินฝืด คือ ภาวะที่ข้าวของและบริการประเภทต่าง ๆ มีราคาที่ต่ำลงเรื่อย ๆ โดยสาเหตุเกิดจากมีปริมาณสินค้าและบริการที่สูงกว่าความต้องการซื้อของตลาด รวมไปถึงภาวะที่ผู้คนต้องรัดเข็มขัด ต้องประหยัด คิดก่อนใช้จ่ายอันเนื่องมาจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
     ถ้าพบภาวะเงินฝืดและไม่ได้รับการแก้ไขในทันที เศรษฐกิจก็จะชะลอตัว และมีโอกาสหยุดชะงักเนื่องจากสินค้าและบริการไม่สามารถขายได้ ไม่มีรายได้และ ไม่มีเงินเก็บ เพราะต้องนำเงินเก็บมาหมุน และเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าครองชีพ
 

หากเจอภาวะทั้ง 2 ควรเลือกบริหารเงินออมอย่างไร

     เมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มเห็นแววของเงินเฟ้อและเงินฝืดจากข่าวเศรษฐกิจ ก็อย่าเพิ่งคิดว่าเราจะเก็บเงินไม่อยู่เสมอไป เราสามารถเริ่มวางแผนการเงินได้จากการทำรายรับ-รายจ่ายในแต่ละวัน ซึ่งการบันทึกการใช้เงินของเราเป็นประจำนั้นจะช่วยให้เห็นรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และถ้าหากการฝากเงินเพียงอย่างเดียวไม่ตอบโจทย์ เรายังสามารถนำเงินจากรายจ่ายที่ไม่จำเป็น มาสร้างผลตอบแทนกับการลงทุนระยะสั้น - กลางที่มีความเสี่ยงที่พอรับไหว หรือเก็บไว้เป็นเงินสดสำรองเพื่อใช้จ่ายในยามคับขันได้
     หากไม่ต้องการนำเงินที่ได้จากการตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นไปเก็บไว้ในบัญชีเงินฝากประจำ สามารถนำเงินส่วนนี้มาบริหารเงินเก็บในบัญชีเงินฝากออนไลน์ดอกเบี้ยสูงอย่างแอปพลิเคชัน Kept ก็ได้เพราะมีกระปุก Grow ที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุด 1.70% ต่อปี* (มีผลตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป) จำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ ก็ถอนเท่าที่ต้องใช้ได้ โดยเงินเก็บที่เหลือก็จะยังได้รับดอกเบี้ยสูงต่อไป ก็จะช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินพร้อมต่อยอดเงินโตและได้ดอกเบี้ยทุกเดือนเป็นกำลังใจให้คนเก็บออมเงิน

นิสัยที่ 2 : เปิดบัตรเครดิตหลายใบ

     หากเลือกใช้ดี ๆ และไม่ยอมให้บัตรมาควบคุมเราได้ การมีบัตรเครดิตหลายใบก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการจ่ายเงิน อีกทั้งยังจะได้รับส่วนลดจากร้านและบริการต่าง ๆ รวมถึงการแลกคะแนนเป็นของที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม ใครที่รู้ตัวว่าเป็นคนใช้เงินฟุ่มเฟือย และมีรายได้ที่จำกัด การใช้บัตรเครดิตหลายใบพร้อมกันอาจจะกลายเป็นปัญหาได้ ในแต่ละเดือนหากเรามียอดค้างจ่ายกับธนาคาร หรือจ่ายไม่ตรงเวลา นอกจากจะเสียเครดิตและมีดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นแล้วอาจต้องนำเงินเก็บออกมาใช้ และส่งผลทำให้เราไม่มีเงินเก็บในที่สุด ดังนั้น หากเลือกที่จะมีบัตรเครดิตแล้ว อย่าลืมใช้จ่ายแต่พอตัว และพิจารณาทุกค่าใช้จ่ายให้ดีก่อนตัดสินใจใช้บัตรเครดิตอยู่เสมอ
Credit-cards-(3).jpg


นิสัยที่ 3 : ติดกับคำว่า “เดี๋ยวก็หาใหม่ได้

     “เดี๋ยวก็หาใหม่ได้” หรือ “ไม่เป็นไร เดี๋ยวเงินเดือนก็ออก” มักจะเป็นวลีเด็ดที่คนจำนวนไม่น้อยใช้บอกตัวเองเวลาซื้อของ หรือ กินอาหารร้านแพงมาก ๆ แต่รู้หรือไม่? หากเรายังใช้วลีนี้จนติดปากและทำเป็นนิสัยไปเรื่อย ๆ นอกจากจะทำให้มีเงินไม่พอใช้ถึงสิ้นเดือนแล้ว เงินเก็บในบัญชีก็จะเริ่มร่อยหลอลงไปเรื่อย ๆ
     แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราห้ามใช้เงินฟุ่มเฟือย ต้องอดมื้อกินมื้อ และไม่กินของดีๆ หรือใช้ของแพงๆ เลย แต่ให้ทุกคนลองชั่งน้ำหนักดูให้ดีว่า ในแต่ละเดือนนั้น เราทำแบบนี้ไปกี่ครั้ง และแต่ละครั้งเราซื้อของเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ คิดให้ดีว่าสิ่งของหรืออาหารที่ซื้อมาเหล่านั้นเราได้ประโยชน์หรือใช้งานอย่างคุ้มค่าจริงไหม ซึ่งถ้าคิดดูแล้วว่า การใช้เงินลักษณะนี้เป็นสาเหตุไม่มีเงินเก็บ การปรับเปลี่ยนการใช้เงินเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะช่วยให้บริหารจัดการเงินดีขึ้นได้
ตัวอย่างเช่น
  • หากเดือนนี้อยากซื้อกระเป๋าแบรนด์โปรดสักใบ เราคงต้องเลื่อนการกินโอมากาเสะหรือบุฟเฟ่ต์แพง ๆ ไปเดือนหน้าเป็นต้น
  • หรือ หากเดือนนี้มีของออกใหม่ที่อยากได้จริง ๆ ก็ให้เก็บเงินในจำนวนเท่ากับที่ใช้ซื้อของไป ซึ่งการทำวิธีนี้ก็จะช่วยให้มีเงินเก็บไปด้วย อีกทั้งยังได้ของที่อยากได้มาใช้อีกด้วย แยกได้ว่าใช้เท่าไหร่ให้เก็บเท่านั้น ได้ทั้ง Pay และ Save

นิสัยที่ 4 : แยกไม่ออกระหว่าง “ของมันต้องใช้” กับ “ของมันต้องมี”

     นอกจาก 2 วลีฮิตด้านบนที่เป็นสาเหตุไม่มีเงินเก็บแล้ว #ของมันต้องมี ก็เป็นอีกหนึ่งแฮชแท็กตามอินสตาแกรมที่ค่อยเย้ายวนให้รู้สึกว่า “ฉันต้องซื้อ!” เพื่อจะได้ไม่ตกเทรนด์ ซึ่งในบางครั้ง #ของมันต้องมี บางชิ้นก็ทำได้แค่ซื้อมาวางเฉย ๆ และพอของชิ้นนั้นเลิกฮิตเมื่อไหร่ ความรู้สึก “ไม่น่าซื้อเลย” หรือ “เอาเงินไปทำอย่างอื่นดีกว่า” ก็จะยิ่งปรากฏให้เห็นชัดขึ้นเรื่อย ๆ
     ดังนั้น ถ้าไม่อยากรู้สึกเสียดายเงินให้กับ #ของมันต้องมี ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ Kept by krungsri ขอแนะนำว่า พิจารณาความต้องการของเราก่อนว่า ของแต่ละชิ้นที่อยากได้นั้นเป็น “ของมันต้องมี” หรือ “ของมันต้องใช้” กันแน่ ซึ่งถ้าหากเป็นของที่ต้องใช้และมีความจำเป็นต่อชีวิต การซื้อของเหล่านี้โดยหักจากค่าใช้จ่ายรายเดือนก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี หรือหากเป็น “ของมันต้องมี” ที่อยากได้จริง ๆ ก็อย่าลืมบริหารจัดการเงินให้ดี ท่องไว้ว่าอยากใช้ต้องรู้จักเก็บออมด้วย ตัวช่วยที่ดีอีกตัวนึงในแอปพลิเคชัน Kept ที่จะช่วยสายช้อปก็คือกระปุก Fun ที่ช่วยเก็บเล็กผสมน้อย หยอดกระปุกอัตโนมัติให้ทุกครั้งที่โอนจ่ายออกตามวิธีที่ตั้งค่าไว้

Need-vs-want-(2).jpg

นิสัยที่ 5 : ไม่คิดลงทุน

     หลายคนอาจมองว่า แค่ทำงานได้เงินเดือนมาก็แทบจะไม่มีเงินเก็บแล้ว นี่ยังต้องมาลงทุนกับสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงด้วยอีกเหรอ แต่รู้หรือไม่? การฝากเงินในบัญชีไม่ว่าจะออมทรัพย์หรือประจำอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่สูงยิ่งเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้ออีกด้วย ด้วยเหตุนี้ นอกจากการฝากเงินในบัญชีเพื่อรับดอกเบี้ยแล้ว การหาการลงทุนที่เราเข้าใจ มีความเสี่ยงที่พอรับไหวทั้งในระยะสั้นและระยะยาวมาช่วยเพิ่มสภาพคล่องและช่วยให้เงินเก็บงอกเงยนั้นก็ถือเป็นทางเลือกดี ๆ ที่จะช่วยเพิ่มสภาพคล่อง และวางแผนเกษียณในระยะยาวได้ ดังนั้น หากรู้แล้วว่าอยากลงทุนอะไรก็ลุยเลย!
     เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 5 นิสัยการเงินที่อาจทำให้เราเก็บเงินไม่อยู่ในวันนี้ ถ้ามีนิสัยข้อไหนที่ตรงกับตัวเอง ก็อย่าลืมนำข้อเสนอแนะดี ๆ ที่ Kept นำมาฝากไปปรับใช้ เพื่อรู้เท่าทันนิสัยการใช้เงินของเรา และสามารถวางแผนการเงินที่เหมาะสมกับตัวเองได้ในอนาคตและถ้าหากใครกำลังมองหาตัวช่วยดี ๆ ที่จะช่วยให้การเก็บเงินเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ต่อให้ใช้เงินฟุ่มเฟือย ก็สามารถเก็บเงินได้เป็นนิสัย Kept by krungsri แอปเก็บเงินแนวใหม่ สูตรเก็บสำเร็จง่ายที่จะช่วยให้ทุกคนบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภายในแอปมาพร้อมกับ กระเป๋า Kept  สำหรับใช้จ่ายและรับเงินเข้า-ออกเพื่อให้เราได้เห็นการใช้จ่ายอย่างชัดเจน กระปุก Grow  ที่จะช่วยให้สายออมเงินและสายลงทุนได้เพิ่มพูนผลตอบแทนด้วยดอกเบี้ยสูงสุด 2% ต่อปี* (มีผลตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป) กระปุก Fun  มาพร้อมฟีเจอร์เอาใจสายช้อป ที่คอยแอบเก็บและสั่งเก็บเงินอัตโนมัติ ช่วยเก็บเล็กผสมน้อยหยอดกระปุกทุกครั้งที่ใช้จ่ายตามที่ตั้งค่าไว้ บอกลาปัญหาไม่มีเงินเก็บไปได้เลย! และกระปุกใหม่ล่าสุด กระปุก Together  ที่ช่วยให้ทุกเป้าหมายการออมเงินง่ายและเป็นระบบกว่าเดิม จัดการเงินเก็บได้เป็นส่วนๆ และยังชวนคนที่คุณรักเข้ามาดูรายการได้
*ดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศของธนาคารกรุงศรี
 
Kept แอปเก็บเงินแนวใหม่