แชร์เทคนิคการเก็บเงินแบบ Healthy ใครก็ทำได้ แถมไม่ FOMO ด้วย!
เทคนิคเก็บเงินได้
3/8/2022
Highlight
เคยไหม? เห็นใครลงรูป ‘ชีวิตดี’ แล้วรู้สึกน้อยใจว่าทำไมเราไม่มีเงินพอไปใช้ชีวิตแบบนั้นบ้าง ถ้าใช่คุณกำลังตกอยู่ในภาวะ FOMO หรือ Fear Of Missing Out ก็เป็นได้! แล้วต้องทำยังไง Kept by krungsri ขอพาทุกคนไปรู้จักกับเทคนิคการเก็บเงินแบบ Healthy และดีต่อใจ ไร้ปัญหา FOMO กัน แต่จะทำอย่างไรนั้น มาดูไปพร้อมกันเลย!
แชร์เทคนิคการเก็บเงินแบบ Healthy ใครก็ทำได้ แถมไม่ FOMO ด้วย!
เป็นไหม? กดดู Story ในไอจีไปเรื่อย ๆ แล้วเจอเพื่อนลงรูปโชว์ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้ หรือแม้แต่ลงรูปการเป็นหนี้สินเนื่องจากซื้อบ้านและคอนโดแล้วก็รู้สึกนอยด์ และพาลคิดซ้ำไปซ้ำมาว่าทำไมเราเป็นไม่ได้แบบเขา หรือเคยไหมรู้สึกไหม? พอเห็นใครลงรูป ‘ชีวิตดี’ อย่างการไปกินโอมากาเสะ Fine Dinning หรือเห็นเพื่อนเช็กอินอยู่ริมทะเลแล้วรู้สึกน้อยใจว่าทำไมเราไม่มีเงินพอไปใช้ชีวิตแบบนั้นบ้างหากช่วงนี้ใครกำลังเป็นแบบนี้บ่อย ๆ และรู้สึกผิดคิดว่าตัวเองพยายามไม่พอ หรือรู้สึกโทษตัวเองเล็ก ๆ ในใจว่ายังตั้งเป้าหมายในชีวิตไม่หนักแน่นจนทำให้ไม่มีเงินเหลือเก็บเหมือนคนอื่นเขา จนไม่แน่ว่าตอนนี้เราอาจกำลังตกอยู่ในภาวะ FOMO หรือ Fear Of Missing Out ก็เป็นได้ ซึ่งหากปล่อยให้ FOMO มีผลต่อชีวิตเรามากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเป็นอุปสรรคทำให้แผนเก็บออมเงินที่ตั้งใจไว้พังทุกที ดังนั้น เพื่อช่วยให้ทุกคนมีเงินเก็บในแบบที่ต้องการโดยไม่กดดันตัวเองมากจนเกินไป วันนี้เราจะขอพาทุกคนไปรู้จักกับเทคนิคการเก็บเงินแบบ Healthy และดีต่อใจ ไร้ปัญหา FOMO กัน แต่จะทำอย่างไรนั้น มาดูไปพร้อมกันเลย!
รู้จัก FOMO หรือ Fear Of Missing Out กันก่อน
ก่อนที่จะไปรู้จักเทคนิคการเก็บเงินกัน ขอคั่นรายการสั้น ๆ ด้วยการพาทุกคนไปสำรวจใจตัวเองกันก่อน ว่าจริง ๆ แล้วตอนนี้ เรากำลัง FOMO อยู่หรือเปล่า แล้ว FOMO ในที่นี้หมายถึงอะไรกันแน่FOMO หรือ Fear Of Missing Out คือ พฤติกรรมที่ผู้คนกลัวว่าจะพลาดอะไรบางอย่างไป ซึ่งไม่ว่าจะยุคไหน ๆ ความรู้สึก FOMO นี้ก็เกิดขึ้นได้ทุกวัน หากนึกไม่ออกล่ะก็ ลองคิดดูง่าย ๆ ว่า ถ้าวันไหนไปทำงานออฟฟิศและเห็นร้านขายข้าวมีคนมุงต่อคิวจำนวนมาก แน่นอนว่าเราเองก็รู้สึกอยากลองกินข้าวร้านนั้นดูสักครั้ง เพราะอยากรู้ว่า ‘มันจะอร่อยสักแค่ไหน’
แต่สำหรับในยุคดิจิทัลแล้ว พฤติกรรม FOMO เหล่านี้ก็ได้ย้ายแพลตฟอร์มไปอยู่ในโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งมักจะมาในรูปแบบของความรู้สึกตั้งแต่ #ของมันต้องมี ไปจนถึงการติดตามข่าวสาร ดราม่า และเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
FOMO เกี่ยวกับโลกการเก็บเงินได้อย่างไร?
การปล่อยความรู้สึก FOMO เอาไว้นาน ๆ อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสุขภาพทางการเงินของเราได้มากกว่าที่คิด ดังนั้น หากใครรู้สึก FOMO กับตัวเองบ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเก็บเงินล่ะก็ ลองเปิดใจยอมรับตัวเองตั้งแต่วันนี้ แล้วมารู้จักกับเทคนิคการเก็บเงินแบบสบายกาย สบายใจ และสบายสุขภาพทางการเงินของตัวเองกัน โดยเคล็ดลับการเก็บเงินที่ดีต่อใจนี้จะมีขั้นตอนง่าย ๆ 3 ข้อ ดังนี้1. เข้าใจ ‘ภูเขาน้ำแข็ง’ ของแต่ละคน
บนโลกโซเชียลมีเดียมีคอนเทนต์ที่หลากหลาย แต่ก็มีส่วนน้อยมาก ๆ ที่คนจะแชร์เรื่องความล้มเหลวของตัวเอง ซึ่งถึงเราจะเห็นคนแชร์รูปในไอจีว่ามีเงินเก็บมากมาย หรือเห็นเพื่อนรุ่นเดียวกันลง Facebook ว่าตัวเองมีเงินเก็บหลักล้านได้ก่อนเรียนจบ แต่เราก็ไม่มีทางรู้เลยว่า กว่าจะมีวันที่ประสบความสำเร็จขนาดนี้ คนเหล่านี้ผ่านร้อนผ่านหนาว หรือต้องเจอกับอุปสรรคในชีวิตมาเท่าไหร่ ไม่ต่างอะไรกับภูเขาน้ำแข็งที่คนเห็นแต่ยอด แต่ไม่มีทางรู้เลยว่า ลึกลงไปใต้น้ำภูเขาลูกนั้นมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ดังนั้น อย่าสร้างความกดดันโดยเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น หรือตำหนิตัวเองว่าทำไมไม่มีเงินมากเท่าคนอื่น แต่ให้แสดงความยินดีกับความสำเร็จเหล่านี้ และหันมาตั้งสติกับตัวเองก็จะดีที่สุด2. ตั้งเป้าหมายเป็นของตัวเอง
เพราะจังหวะชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น ไม่เพียงแต่จะต้องหยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นแล้ว เราเองก็ต้องหันมาตั้งเป้าหมายการเงินจากความต้องการของตัวเองเช่นกัน ซึ่งในการตั้งเป้าหมายนี้จะต้องชัดเจน อยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม และไม่เกินกว่ากำลังของเรา โดยทุกคนสามารถเริ่มตั้งเป้าหมายได้ง่าย ๆ จากการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ สร้างเป้าหมายเล็ก ๆ เพื่อทำให้รู้สึกใจชื้นว่าอย่างน้อยเราก็เข้าใกล้เป้าหมายใหญ่ไปทุกที3. ใช้เงินอย่างเป็นระบบและเข้าใจตัวเอง
จริงอยู่ว่าเป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชน แต่ก่อนที่จะพุ่งชนเป้าหมายได้ การวางแผนระหว่างทางก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งสำหรับเป้าหมายในการเก็บเงินของเทคนิคการเก็บเงินนี้ เราจะต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจรายรับ - รายจ่ายผ่านการทำบัญชีการเงินของตัวเอง จากนั้นจึงค่อย ๆ สังเกตพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองที่สอดคล้องกับความ FOMO อย่าง #ของมันต้องมี ซึ่งหากค้นพบแล้วว่าความ FOMO นี้ทำให้เงินเก็บในบัญชีเริ่มน้อยลง หรือรายจ่ายกลับเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัวก็อย่าลืมหันกลับมาบริหารการเงินส่วนต่าง ๆ ของตัวเองด้วย เช่น ถ้าหากลงทุนซื้อของแบรนด์เนม เพราะอยากได้มานาน หรือรู้สึก FOMO เมื่อจ่ายเงินเสร็จแล้วก็อย่าลืมนำเงินเก็บ ไปเติมเงินในส่วนที่ต้องจ่ายค่ากระเป๋าไป หรือถ้าจะให้ดีก็ควรแบ่งเก็บเงินให้เพียงพอต่อการซื้อกระเป๋าแทนที่จะหักเงินไปมาหลาย ๆ รอบ เป็นต้นถึง FOMO จะส่งผลร้ายกับการเงินของเราได้มากแค่ไหน แต่การรู้จักบริหารจัดการเงินที่เข้ากับความต้องการของตัวเองจริง ๆ ก็สามารถช่วยให้การเก็บเงินสนุกและ Healthy ได้เช่นกัน แต่สำหรับใครที่ยังอยากได้ #ของมันต้องมี อยู่ แต่ไม่อยากตกเป็นทาสของ FOMO โดยไม่รู้ตัว
นอกจากเทคนิคการเก็บเงินที่นำมาฝากนี้ Kept by krungsri มาพร้อมกับฟีเจอร์ 1 กระเป๋า 3 กระปุก เพื่อช่วยให้ทุกคนบริหารเงินได้อย่างลงตัวและเป็นระบบ เริ่มจากกระเป๋า Kept ที่เสมือนกระเป๋าสตางค์ในชีวิตประจำวัน ใช้จ่ายเป็นหลัก ตามมาด้วยกระปุก Grow หรับเก็บเงินก้อน พร้อมรับดอกเบี้ยสูง ปิดท้ายด้วยกระปุก Fun ที่จะช่วยให้ทุกคนหยอดกระปุกผ่านฟีเจอร์แอบเก็บที่โอนจ่ายเมื่อไหร่ก็เก็บเงินไว้ให้ทันที และกระปุกล่าสุด กระปุก Together ที่จะคอยช่วยแยกเก็บเงินตามเป้าหมาย ใส่รูป ตั้งชื่อได้ จะเก็บคนเดียวหรือเก็บกับเพื่อนก็ทำได้ง่ายๆ มีเป้าหมายเดียวกัน ชวนกันมาเก็บด้วยกันเลย!