เทคนิคการออม

Banner image alt

บอกต่อ! 5 กฎเหล็กการวางแผนการออมเงินแม้มีหนี้

เทคนิคเก็บเงินได้
11/1/2022
Share

Highlight

บ่อยครั้งเมื่อชีวิตมีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ จ่ายค่าน้ำค่าไฟ หรือจะเป็นการลงทุนทำธุรกิจ แน่นอนว่าการมีหนี้สินอาจเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้ Kept by krungsri ขออาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 5 กฎเหล็กที่จะช่วยบริหารหนี้อย่างถูกต้อง ทำยังไงดูตามนี้เลย!

กฎเหล็กข้อ 1 : ทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายเพื่อหาช่องโหว่ทางการเงิน
กฎเหล็กข้อ 2 : เลือกจัดการหนี้ให้เป็น
กฎเหล็กข้อ 3 : เลี่ยง 2 วิธีการแก้หนี้ที่ไม่ได้แก้
กฎเหล็กข้อ 4 : หาวิธีลดหนี้อย่างถูกกฎหมาย
กฎเหล็กข้อ 5 : ตั้งเป้าหมาย จ่ายหนี้ และหักเงินเก็บทันที

บอกต่อ! 5 กฎเหล็กการวางแผนการออมเงินแม้มีหนี้

          เป็นหนี้ใครว่าน่าอาย? บ่อยครั้งเมื่อชีวิตมีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ จ่ายค่าน้ำค่าไฟ หรือจะเป็นการลงทุนทำธุรกิจ แน่นอนว่าการมีหนี้สินอาจเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะวางแผนการออมเงินควบคู่กันไปไม่ได้สักหน่อย หากใครกำลังมองหาแนวทางดี ๆ ในการบริหารจัดการหนี้พร้อมเก็บหอมรอมริบควบเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวไปด้วย วันนี้ Kept by krungsri ขออาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 5 กฎเหล็กที่จะช่วยบริหารหนี้อย่างถูกต้อง และแก้ปัญหาเก็บเงินไม่อยู่ระหว่างเป็นหนี้ได้ บอกเลยว่าทำตามได้ง่าย ๆ ไม่กดดัน และไม่ยากอย่างที่คิดแน่นอน ว่าแล้วก็อย่ารอช้า มาดูกฎแต่ละข้อไปพร้อมกันเลย!
          
เคลดลบตงเปาหมาย.jpg
 

กฎเหล็กข้อ 1 : ทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายเพื่อหาช่องโหว่ทางการเงิน

     ไม่ว่าจะมีปัญหาทางการเงินหรือไม่ การทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายถือเป็นกฎเหล็กยืนหนึ่งเรื่องการพัฒนาสภาพคล่องทางการเงินเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาเก็บเงินไม่อยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายเป็นประจำจะยังช่วยให้สามารถวางแผนการออมเงินได้ เนื่องจากเราจะได้เห็นถึงสภาพคล่องทางการเงินอย่างชัดเจน รวมถึงเห็นรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และที่สำคัญเห็นถึงนิสัยทางการเงินของเราด้วยว่าเป็นอย่างไร
     สำหรับใครที่กำลังเป็นหนี้สินอยู่นั้น การทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายเป็นประจำจะสามารถช่วยสร้างเงินเก็บเล็ก ๆ น้อย ๆ จากรายจ่ายที่ไม่จำเป็นได้ ซึ่งเงินในส่วนนี้สามารถนำไปเก็บเล็กผสมน้อยเพื่อเป็นเงินก้อนไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน หรือใช้เป็นค่างวดที่ต้องจ่ายทุกเดือน เงินก้อนนี้ก็สามารถช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายได้ และทำให้ “สิ้นเดือน ไม่ต้องสิ้นใจอีกต่อไป”


กฎเหล็กข้อ 2 : เลือกจัดการหนี้ให้เป็น

     การวางแผนการออมเงินในขณะที่เป็นหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการเลือกจัดการหนี้สินให้เป็น โดยทั่วไปแล้ว หนี้สินตามครัวเรือนนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคร่าว ๆ คือ
  1. หนี้สินระยะยาว ซึ่งเป็นหนี้สินที่มีเวลาในการชำระคืนนานมากกว่า 1 ปี เช่น หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ รวมถึงสินเชื่อประเภทต่าง ๆ
  2. หนี้สินระยะสั้น ซึ่งเป็นหนี้สินที่เราต้องชำระในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เช่น เงินเบิกเกินบัญชีที่ใช้ในการทำธุรกิจ
     จะเห็นได้ว่า หนี้สินแต่ละประเภทนั้นจะมี “ระยะเวลา” ในการชำระที่แตกต่างกัน ซึ่งนอกจากระยะเวลาแล้ว หนี้แต่ละประเภทก็มี “ดอกเบี้ย” ที่แตกต่างเช่นกัน ดังนั้น หากใครต้องการจัดการหนี้สินพร้อมแก้ไขปัญหาเก็บเงินไม่อยู่ไปด้วย สิ่งที่ควรทำเป็นลำดับแรก คือ การเลือกโปะหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงและมีระยะเวลาชำระน้อยที่สุดก่อนเพื่อแบ่งเบาภาระหนี้ก้อนอื่น ๆ จากนั้นค่อยทยอยจ่ายหนี้สินที่มีดอกเบี้ยลดหลั่นกันลงมา และสุดท้ายค่อยวางแผนการบริหารหนี้สินที่มีระยะเวลาการชำระระยะยาวต่อไป
 

กฎเหล็กข้อ 3 : เลี่ยง 2 วิธีการแก้หนี้ที่ไม่ได้แก้

     ถึงการไม่มีหนี้จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าหากมีแล้วก็ขอให้จัดการหนี้สินอย่างถูกวิธี อย่าตกใจและไปหาวิธีจัดการหนี้ที่ดูเหมือนจะแก้หนี้ได้ แต่จริง ๆ แล้วกลับเป็นวิธี “สร้างหนี้เพิ่ม” เสียมากกว่า อย่างการจัดการหนี้ทางลัดโดยการไปกู้เงินนอกระบบมา หรือเปิดบัตรเครดิตซ้ำซ้อนเพื่อนำเงินจากบัตรใหม่ มาโปะหนี้ก้อนเก่า ซึ่งไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็ล้วนแต่เป็นการเพิ่มหนี้สินให้กับตัวเองทั้งนั้น โดย Kept by krungsri ขออธิบายรายละเอียดของ “2 วิธีการแก้หนี้ที่ไม่ได้แก้” เอาไว้ดังนี้
  • หนี้นอกระบบนั้นจะถือเป็นหนี้สินที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเป็นหนี้ที่ไม่มีกฎหมายมาควบคุมในเรื่องของดอกเบี้ยและเงื่อนไขการให้กู้ยืม นอกจากดอกเบี้ยจะโหดมากจนทำให้เป็นหนี้ไม่รู้จบแล้ว ไม่แน่ว่าอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตด้วยก็เป็นได้ ซึ่งในขณะนี้ เงินกู้นอกระบบนั้นมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน ทางที่ดีที่สุดก็คืออย่าหลวมตัวและหลงเชื่อเข้าไปกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินที่ดูไม่ชอบมาพากลเป็นดีที่สุด
  • การเปิดบัตรเครดิตใหม่เพื่อเอาเงินมาจ่ายหนี้ก้อนเก่าอาจช่วยให้เราบอกลาหนี้ก้อนเก่าและปลดภาระไปได้ แต่หากดูให้ดี ๆ แล้ว หนี้สินที่เราเชื่อว่าเขวี้ยงพ้นไปแล้วนั้นยังจะคงวนเวียนอยู่ในบัตรเครดิตที่เพิ่งเปิดใหม่ และกลายเป็นหนี้ต่อไปไม่รู้จักจบ แถมในบางกรณีก็เกิดเป็นหนี้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นมาเป็นภาระซ้ำซ้อนอีกต่างหาก
     เมื่อรู้แบบนี้แล้ว หากใครต้องการจะวางแผนการออมเงินไปพร้อมกับบริหารหนี้สินล่ะก็ ขอให้หลีกเลี่ยงวิธีการสร้างหนี้เพิ่มแบบนี้ให้ดี


กฎเหล็กข้อ 4 : หาวิธีลดหนี้อย่างถูกกฎหมาย

     การแก้ปัญหาเก็บเงินไม่อยู่จากการเป็นหนี้นั้นทำได้จากการขอลดหนี้สินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหากเราเป็นลูกหนี้ที่ดี กู้ยืมเงินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีการจ่ายค่างวดที่ครบและตรงเวลาสม่ำเสมอ โอกาสในการขอลดหนี้ก็ไม่ยากอย่างที่คิด
ตัวอย่างเช่น
  • หากเรากำลังเป็นหนี้บ้าน เราก็สามารถทำการรีไฟแนนซ์เพื่อลดดอกเบี้ยเพื่อลดค่าใช้จ่ายรายเดือน และเพื่อได้เงินก้อนจากการเปลี่ยนสัญญาหนี้มาเก็บเป็นเงินทุนสำรอง
  • หากเราเป็นหนี้รถยนต์ ก็สามารถนำรถยนต์มารีไฟแนนซ์เพื่อลดค่าใช้จ่ายรายเดือนได้ อีกทั้งในบางกรมธรรม์ก็ยังเปิดโอกาสให้เราได้เพิ่มวงเงินเพื่อนำเงินมาหมุนเวียนรายเดือนเพิ่มเติมได้อีกด้วย
     ดังนั้น หากใครกำลังมีหนี้สินประเภทหนี้ระยะยาวอย่างค่ารถยนต์และค่าบ้านอยู่ อย่าลืมตรวจสอบระยะเวลาและดอกเบี้ยในการผ่อนเพื่อวางแผนการออมเงินควบคู่กันไป และถ้าหากวันไหนสามารถขอลดหนี้ได้ก็ขอให้รีบจัดการเพื่อแบ่งเบาภาระรายเดือนให้ได้เร็วที่สุด

Debt-management-2.jpg
 

กฎเหล็กข้อ 5 : ตั้งเป้าหมาย จ่ายหนี้ และหักเงินเก็บทันที

          และสุดท้าย เมื่อทำกฎเหล็กทั้ง 4 ข้อด้านบนเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะเดินหน้าไปชำระหนี้สิน เราอยากขอให้ทุกคนลองใช้เวลาสั้น ๆ ในการตั้งเป้าหมายการออมเงินเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเก็บเงิน และช่วยให้การวางแผนการออมเงินเป็นเรื่องที่ไม่กดดันตัวเองจนเกินไป โดยอาจเริ่มจากสร้างเป้าหมายระยะสั้น ๆ จากนั้นค่อยวางแผนระยะยาวตามความเหมาะสมและกำลังของเรา และขอให้เชื่อมั่นเสมอว่า “เป็นหนี้ก็มีฝันและตั้งเป้าหมายได้เหมือนกัน”
     และหลังจากตั้งเป้าหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อชำระหนี้สินแต่ละเดือนทุกครั้ง ก่อนที่จะนำเงินที่เหลือไปใช้จ่ายใด ๆ อย่าลืมหักเงินออกอย่างน้อย 5% - 10% ออกมาเป็นเงินเก็บเพื่อพิชิตเป้าหมาย รวมถึงเพื่อเป็นเงินเก็บไว้ใช้เป็นทุนสำรองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น หรือหากใช้แอป Kept ของธนาคารกรุงศรีอยู่ก็เปิด กระปุก Together แยกเก็บเงินเป็นสัดส่วนกว่าเดิมก็ได้นะ เพราะกระปุก Together savings ของแอปนี้เปิดได้สูงสุด 5 กระปุก พร้อมทั้งชวนเพื่อนหรือคนในครอบครัวเข้ามาเก็บด้วยกัน และสามารถดูกระปุกได้เอง เป้าหมายเก็บเงินจะใหญ่แค่ไหน ก็เป็นไปได้ถ้าทำด้วยกัน
     แน่นอนว่ากฎเหล็กทั้ง 5 ข้อที่ Kept นำมาฝากในวันนี้นั้นไม่ใช่กฎตายตัวที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังนั้น หากใครต้องการจะแก้ปัญหาเก็บเงินไม่อยู่ขณะเป็นหนี้ อย่าลืมนำกฎทั้ง 5 ข้อนี้ลองปรับใช้กันดู ลองทำตามกำลังและความเหมาะสมของตัวเองด้วยนะ และที่สำคัญ หากใครต้องการตัวช่วยในการวางแผนการออมเงินในระยะยาว ไปพร้อมกับการจัดการหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ เราขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ที่จะช่วยให้ทุกคนได้เก็บเล็กผสมน้อยและจัดการค่าใช้จ่ายได้ง่าย ๆ ภายในแอปเดียว อยากรู้จักแอป Kept ตัวช่วยเก็บเงินแนวใหม่ คลิกที่นี่ รับรองบริหารเงินง่ายและเป็นระบบมากขึ้น

 

ทกเปาหมายการออมงายและเปนสดสวนกวาเดม.jpg