รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพ มีวิธีป้องกันได้อย่างไร
Highlight
ในแต่ละวันที่เราต้องพบเจอมิจฉาชีพหลากหลายรูปแบบ จนบางครั้งเราก็หลงเชื่อและมีผู้คนตกเป็นเหยื่อมากมาย เพราะเดี๋ยวนี้มิจฉาชีพร้ายกาจมากขึ้น มักหาวิธีใหม่ๆ มาหลอกขโมยเงินในบัญชีอยู่เสมอ วันนี้ Kept เลยแชร์ข้อมูลให้ทุกคนได้รู้ทันกลโกงของมิจฉาชีพในรูปแบบต่างๆ ว่ามีกลโกงอะไรบ้างและเรามีวิธีป้องกันได้อย่างไรไปดูกัน
1. แก๊งบัญชีม้า หลอกให้กดเงินตู้ ATM ให้
เหล่ามิจฉาชีพมักจะใช้วิธีนี้เมื่อต้องการจะกดเงินจากตู้ ATM มักจะเลือกคนใจดีที่จะไปกดเงินผ่านตู้ ATM ให้ อย่าให้ความใจดีตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพ ถ้าพลาดไปกดเงินให้อาจทำให้คุณเข้าข่ายของการเป็นผู้เสียหายจากการเปิดบัญชีม้าได้ ทางที่ดีไม่กดเงินให้คนแปลกหน้าดีที่สุด อย่าปล่อยให้ความใจดี ทำร้ายตัวเอง ไม่อย่างนั้นเราจะมีความผิดร่วมกับมิจฉาชีพกลุ่มนี้ได้
2. ปลอม SMS ส่งพัสดุ หลอกให้กดลิงก์ดูดเงิน
แอบอ้างว่าเป็นบริษัทขนส่ง แจ้งว่ามีพัสดุจัดส่งไม่สำเร็จ ให้ติดต่อผ่านไลน์ หรือติดตามสถานะพัสดุ โดยแนบลิงก์ URL เพื่อทำการหลอกให้เราโอนเงินต่อไป หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว วิธีป้องกันคือไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์ใน SMS แปลกปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้ง3. ทำตัวเนียนหลอกว่าเป็นคนรู้จัก
สำหรับเรื่องนี้หลายๆ คนมักเจอกันบ่อยมาก โดยมาในรูปแบบโทรมาด้วยเบอร์แปลกที่ไม่เคยเห็นมาก่อน หรือปลอมเป็นบัญชีโซเชียลของคนที่รู้จัก และทักมาก่อนเลย “จำเราได้ไหม” จากนั้นก็เข้าเรื่องมีปัญหาขอยืมเงินหน่อยได้ไหม มิจฉาชีพอาจติดต่อเข้ามาในเวลาที่เราอาจจะยุ่ง จนไม่ได้ทันได้เช็กข้อมูล กว่าจะรู้ตัวก็เผลอโอนเงินไปให้แล้ว ถ้าเอาให้ชัวร์ไม่ว่าจริง หรือปลอม จะสนิทแค่ไหนก็อย่าให้ใครยืมเงิน หรือเช็กข้อมูลให้แน่ใจก่อน
4. หลอกให้ลงทุน หลอกให้เชื่อด้วย AI
กลโกงที่มาพร้อมเทคโนโลยี อย่างการใช้ AI มาดัดแปลง ผ่านเสียง และหน้าตาโดยแอบอ้างเป็นผู้มีชื่อเสียง เช่นเป็นคนดังหรือนักธุรกิจที่ถูกอ้างถึง หลอกให้ลงทุน วิธีสังเกตให้ดูเลขรหัสเบอร์โทรศัพท์หากไม่อยู่ในประเทศไทย ก็วางสายได้เลย ข้อสำคัญ คนดัง หรือนักธุรกิจที่ถูกอ้างจะไม่โทรหาเราเองอย่างแน่นอน มั่นใจได้เลย5. หลอกว่าบัญชีเงินฝากถูกอายัด หรือเป็นหนี้บัตรเครดิต
ข้ออ้างที่มิจฉาชีพนิยมใช้มากที่สุด คือจะอ้างว่าเป็นพนักงานธนาคาร ว่าเราทำธุรกรรมไม่สำเร็จ หลอกว่าถูกอายัดบัญชีเงินฝากและเป็นหนี้บัตรเครดิต โดยจะบอกข้อมูลที่ถูกต้องให้เราเชื่อ เพราะเป็นเรื่องที่สามารถสร้างความตกใจและง่ายต่อการชักจูงให้เราโอนเงิน หากปฏิเสธก็จะบอกว่าอาจเป็นมิจฉาชีพที่ปลอมบัตรเครดิตเราแล้วเอาไปใช้ จากนั้นก็จะแนะนำให้รีบแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่ ซึ่งมักอยู่ไกล เช่นต่างจังหวัด แต่ถ้าเราไม่สะดวกเดินทางก็จะอาสาว่าจะติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ ซึ่งก็จะส่งสายโทรศัพท์ไปให้ตำรวจตัวปลอม วิธีป้องกันคือถามข้อมูลและวางสาย จากนั้นให้โทรไปติดต่อกับธนาคารด้วยตนเอง มีสติ คิดให้ดี ก่อนให้ข้อมูลส่วนตัวกับใคร หรือดำเนินการใดๆ
ช่องทางติดต่อ หากตกเป็นเหยื่อ หรือมีแนวโน้มจะโดนหลอก ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
📞 Kept help center โทร. 02-296-6299 กด 1
📞 Krungsri call center โทร. 1572 กด 5
📞 สายด่วน สอท. 1441
📞 ศูนย์ PCT O81-866-3000 หรือแจ้งความออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com
อ้างอิงข้อมูลจาก :
- https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/5-fraud-scammer-money
- https://www.tcc.or.th/appeal/sms-fake/
- https://www.tcc.or.th/tcc_media/23092565_inventor_info/