เทคนิคการออม

Banner image al

สรุปครบทุกกองทุน Thai ESG พร้อมโพยกองทุนแนะนำ ปี 2567

ต่อยอดเงินออม
2/12/2024
Share

Highlight

รวมครบจบในที่เดียวสำหรับกองทุน Thai ESG หรือ Thailand ESG Fund ‘กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน’ กองทุนลดหย่อนภาษีรูปแบบใหม่ สามารถซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีที่กระปุกลงทุน Kept Invest ในแอป Kept ได้แล้ว

เราจึงได้สรุปรายละเอียดและข้อมูลสำคัญของ Thai ESG จาก บลจ. ต่าง ๆ ที่กำลังเสนอขาย IPO มาฝากเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน จะมีกองทุนไหนที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย

กองทุน Thai ESG คืออะไร? 

Thai ESG หรือ Thailand ESG Fund คือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีสิทธิพิเศษให้ผู้ลงทุนสามารถนำจำนวนเงินลงทุนมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเหมือนกับการลงทุนใน RMF, SSF, SSFX หรือ LTF ที่ออกมาก่อนหน้านี้

กองทุน Thai ESG ลงทุนในอะไรบ้าง?

นโยบายการลงทุนของ Thai ESG กำหนดให้สามารถลงทุนในหุ้นไทยและตราสารหนี้ไทย ที่ให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน ตามหลัก ESG ซึ่งประกอบด้วยมิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) ​และบรรษัทภิบาล (Governance) อาทิ หุ้นไทยยั่งยืน SET ESG Ratings หรือตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน ESG Bond 

ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

       กองทุน Thai ESG ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และลงทุนสูงสุดได้ไม่เกิน 300,000 บาท (อัปเดตปี 2567) โดยไม่มีกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ

       วงเงินลงทุนของ Thai ESG จะไม่ถูกนับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ได้แก่ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ปัจจุบันกำหนดเพดานลดหย่อนภาษีรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท เท่ากับว่าเราจะได้วงเงินลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจาก Thai ESG ไปเลย 300,000 บาท 

       ระยะเวลาการลงทุน Thai ESG ต้องถือลงทุนเป็นเวลา 5 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ (นับแบบวันชนวัน ไม่ใช่นับแบบปีปฏิทิน) ซื้อปีไหน ลดหย่อนปีนั้น และไม่บังคับว่าต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี เช่น ถ้าซื้อ ThaiESG ในวันที่ 25 ธันวาคม 2567 วันที่ครบกำหนด 5 ปี คือวันที่ 25 ธันวาคม 2572  แปลว่าเราจะขายกองทุนโดยไม่ผิดเงื่อนไขได้ในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 26 ธันวาคม 2572

 

รวมกองทุน ThaiESG ครบทุกบลจ.ไว้ที่เดียว

รปแทรก.png
 

โพยกองทุน ThaiESG แนะนำประจำปี 2567

    คัดสรรกองทุนแนะนำ ที่ผ่านการวิเคราะห์มาอย่างเข้มข้นว่าดีที่สุดในกลุ่มสินทรัพย์นั้น ๆ ทั้ง กลุ่มกองทุนหุ้นไทย, กองทุนตราสารหนี้  และกลุ่มกองทุนผสม มาให้เลือกดังนี้ 

ThaiESG-2024-(1).png


1. กองทุนหุ้นไทย: ASP-THAIESG

  •  เน้นลงทุนในหุ้นจดทะเบียนใน SET และ/หรือ mai ที่ได้รับการคัดเลือกและยอมรับว่ามีความโดดเด่นด้าน ESG โดยจะลงทุนในบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับ SET ESG Rating ตั้งแต่ BBB ขึ้นไป
  • มีผู้จัดการกองทุนคือ ‘คุณทิพย์วดี อภิชัยสิริ’ ซึ่งมีประสบการณ์ในการบริหารกองทุนหุ้นไทยที่โดดเด่นมาอย่างยาวนาน ผ่านกองทุน ASP-SME 
  • บลจ. แอสเซท พลัส โดดเด่นในเรื่อง Stock Selection โดยสามารถบริหารจัดการกองทุนหุ้ยไทยให้มีผลการดำเนินงานชนะตลาดได้ในระยะยาว 

 

2. กองทุนผสม: KTAG70/30-THAIESG

  • ลงทุนในหุ้นที่ผ่านการคัดเลือก SET ESG Rating ในระดับ A ขึ้นไป สัดส่วน 70% และตราสารหนี้ประเภท Green Bond, Sustainability Bond และ Sustainability – Linked Bond สัดส่วน 30% 
  • เน้นกลยุทธ์การลงทุนที่มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management) ทั้งในส่วนตราสารหนี้และตราสารทุน 
  • ผ่านกระบวนการวิเคราะห์การลงทุนแบบ ESG Integration และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานรายบริษัทแบบเชิงลึกจากฝ่ายวิจัยของ บลจ.


3. กองทุนตราสารหนี้ไทย: KKP GB THAIESG

  •  เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐระยะยาว เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการลงทุนสำหรับลดหย่อนภาษี โดยกองทุน Thai ESG ต้องถือลงทุนอย่างน้อย 5 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ
  • คาดการณ์อายุตราสารหนี้เฉลี่ยในพอร์ต 9 ปี บริหารโดยผู้จัดการกองทุนมากประสบการณ์ของ บลจ. เกียรตินาคินภัทร  
  • ที่ผ่านมา บลจ. สามารถสร้างผลการดำเนินงานกองตราสารหนี้อื่น ๆ ได้โดดเด่น และคว้ารางวัลการบริหารกองทุนตราสารหนี้มาอย่างต่อเนื่อง

สนใจซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีจากหลากหลายบลจ. ในที่เดียวง่ายๆ ที่กระปุกลงทุน Kept Invest powered by Finnomena "รู้จักกระปุกลงทุน Kept Invest คลิก

กองทุนคัดสรรโดย บลน. ฟินโนมีนา จำกัด
เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
คำเตือน  ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ทั้งนี้ ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน