โอกาสการลงทุนใหม่ ผ่านตลาดหุ้นจีนและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก กับกองทุน K-SEMQ
Highlight
Fund Talk มีมุมมองต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging Market: EM) ที่ดีขึ้น โดยมองว่าตลาด EM จะทำผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (Developed Market: DM) หลังจากที่ราคาตลาดหุ้น EM อยู่ในกรอบแนวข้าง (sideway) มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2023
23
โอกาสการลงทุนใหม่ ผ่านตลาดหุ้น Emerging Market ในกองทุน K-SEMQ
กองทุน K-SEMQ
ชื่อเต็มกองทุน: กองทุนเปิดเค ซีเล็คทีฟ อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ตส์ หุ้นทุน
ประเภทกองทุน : Emerging Market
ระดับความเสี่ยง : ระดับ 6 เสี่ยงสูง กองทุนรวมตราสารทุน
นโยบายการลงทุน
กองทุนหุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่จากค่าย Franklin Templeton ที่มีความเชี่ยวชาญด้านตลาดเกิดใหม่เป็นพิเศษ พร้อมด้วยนโยบายการปรับพอร์ตแบบ Active เพื่อเอาชนะตลาดกลุ่มประเทศ Emerging Market นั้น ถูกนักวิเคราะห์และนักลงทุนแบ่งออกตามภูมิภาค 3 โซนด้วยกัน
-
เอเชีย มีประเทศ ไทย, เกาหลีใต้, จีน, อินเดีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, ปากีสถาน
-
ละตินอเมริกา มีประเทศ อาร์เจนตินา, บราซิ, ชิลี, โคลัมเบีย, เม็กซิโก, เปรู และ เวนาซูเอลา
-
ยุโรปตะวันออก และตะวันออกกลาง มีประเทศ สาธารณรัฐเช็ก, ฮังการี, โปแลนด์, รัสเซีย, อิสราเอล, จอร์แดน, โมร็อคโค, อียิปต์, แอฟริกาใต้ และ ตุรกี
ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมดที่กล่าวมา มีประเทศตลาดเกิดใหม่ที่มีขนาดใหญ่ และถูกจับตาว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกอยู่ 4 ประเทศด้วยกัน นั้นคือ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และ จีน โดยใช้ชื่อย่อว่า BRIC นั้นเอง
จุดเด่นของเศรษฐกิจประเทศในตลาดเกิดใหม่คืออะไร?
ประเทศเหล่านี้ มีอัตราการเติบโตทาง GDP ที่สูงกว่าตลาดพัฒนาแล้ว อย่างตอนนี้ อเมริกาขยายตัวได้ราวๆ 2% ต้นๆ ส่วนยุโรปนั้น GDP Growth กำลังจะติดลบให้เห็น แต่ประเทศใน EM สามารถโชว์การเติบโตได้ที่ 3% ขึ้นไป นี่คือจุดเด่นข้อสอง
จุดเด่นอีกข้อคือ มีปัจจัยพื้นฐานที่รองรับการพัฒนาประเทศได้ดีกว่า นั่นคือ มีหนี้สาธารณะในระดับต่ำ ในขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ไม่เหมือนอย่างกลุ่ม Euro Zone ที่ Debt to GDP สูงกว่า 70-80% บางแห่งอย่างกรีซนั้นสูงถึง 120%
เศรษฐกิจของ Emerging Market ได้รับผลกระทบจากปัญหาการชะลอตัวของสหรัฐฯ และปัญหาหนี้ของยุโรปไหม?
สำหรับประเทศที่พึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศดังกล่าวเยอะๆ ย่อมเจอปัญหานี้เป็นธรรมดา นั่นเป็นคำตอบที่ว่า ทำไมช่วง 2 ปีที่ผ่านมา EM โดยรวมถึงดูสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นได้ค่อนข้างน้อย
แต่สำหรับกลุ่มประเทศที่ปรับกลยุทธ์และหันมาจริงจังกับการเติบโตภายในประเทศมากขึ้น อาจจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐิกจโลกน้อยลง หรือแทบไม่มีผล ดูได้จาก เศรษฐกิจ และตลาดหุ้นของไทยในปีนี้ ซึ่งยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่นักลงทุน โดยหากนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 6 ธ.ค. ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทย (SET Index) สร้างผลตอบแทนได้เป็นอับดับ 3 ของโลก ที่ 30.68% เป็นรองแค่ ตุรกีและฟิลิปปินส์ ซึ่งทั้งสองประเทศนั้น เป็นประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) เหมือนกัน
อนาคตข้างหน้า จะเป็นอย่างไร?
ระยะสั้นๆแล้ว เงินเฟ้อของกลุ่ม EM จะทยอยลดลง ซึ่งจะทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศมีกระสุนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ (ลดดอกเบี้ย) ในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากสหรัฐฯ และยุโรปมากกว่าที่เป็นอยู่ จึงทำให้ดูยังพอรับมือได้ แต่ในระยะยาว เมื่อกระตุ้นได้ดี เศรษฐกิจโตขึ้น เงินเฟ้อจะกลับมาเป็นปัญหากดดันอีกครั้ง จากการที่เงินทุนไหลเข้า และนักลงทุนต่างชาติพยายามนำเงินมาลงทุน แทนที่จะกอดเงินอยู่ในบ้านตัวเองที่อเมริกาหรือยุโรป ดังนั้น ประเทศที่ดำเนินยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่ถูกต้อง เน้นส่งเสริมการลงทุน และการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก จะดูดีกว่า และปลอดภัยกว่า ในแง่ของการลงทุนในระยะยาว ซึ่งเมื่อมองในมุมนี้ ประเทศตลาดเกิดใหม่ที่น่าสนใจ ก็อยู่ใน “เอเชีย” แทบทั้งหมด
กราฟราคาดัชนี CSI 300Source: FINNOMENA Funds as of 01/03/2024
หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของตลาดหุ้น EM คือตลาดหุ้นจีน โดยถ้าหากพิจารณาราคาดัชนี CSI 300 ของตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ จะพบว่าเป็นแนวโน้มขาลงมาตั้งแต่ปี 2022 อย่างไรก็ดี ในระหว่างช่วงขาลงดังกล่าว ตลาดหุ้นจีนมีการปรับตัวขึ้นในระยะสั้น ๆ ตามนโยบายการช่วยเหลือต่าง ๆ จากภาครัฐ แต่ที่ผ่านมาก็มีปัจจัยเชิงลบจากนโยบายกดดันอุตสาหกรรมต่าง ๆ จากภาครัฐเช่นกัน แต่ในปี 2024 นี้ รัฐบาลจีนมีความพยายามออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจังมากขึ้น ความพยายามดังกล่าวสะท้อนไปยังราคาของดัชนี CSI 300 ซึ่งปรับตัวขึ้นมา 13% จากจุดต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
Source: Franklin Templeton as of 31/01/2024
โดยตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนในปี 1987 กองทุนดังกล่าวทำผลตอบแทนได้ดีกว่าดัชนีอ้างอิง MSCI Emerging Markets Index อย่างต่อเนื่อง มีการกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่หลายประเทศ ทั้งจีน (22%) เกาหลีใต้ (20%) ไต้หวัน (16%) อินเดีย (14%) บราซิล (10%) และประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ ทำให้ลดความเสี่ยงด้านการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในแต่ละประเทศได้ดี
Source: Franklin Templeton as of 31/01/2024
ในเดือนมีนาคม 2024 นี้ Fund Talk มีคำแนะนำปรับสัดส่วนใน Fund Talk Contrarian Portfolio โดยมีสัดส่วนเข้าซื้อกองทุน K-SEMQ 15%
สัดส่วนการลงทุนใหม่ใน FundTalk Contrarian Portfolio
Source: FINNOMENA Funds as of 01/03/2024
สนใจซื้อกองทุนหลากหลายบลจ. ในที่เดียวง่ายๆ ที่กระปุกลงทุน Kept Invest powered by FINNOMENA รู้จักกระปุกลงทุน Kept Invest คลิก
กองทุนคัดสรรโดย บลน. ฟินโนมีนา จำกัด
คำเตือน
- การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากกองทุน K-SEMQ ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
- เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ Kept help center 02-296-6299 หรือ คลิกเพื่อรับคำปรึกษาฟรี! หรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่นี่
Source: