ชวนมาดาวน์โหลด Kept
รับดอกเบี้ยสูงสุด 2% ต่อปี* ถอนได้ ไม่มีเงื่อนไข!
FINNOMENA FUNDS แนะนำปรับสัดส่วนการลงทุนในพอร์ต Goal และ 1st Million ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ตามรอบการปรับพอร์ตปกติทุก ๆ 6 เดือน โดยในรอบนี้จะเป็นการทบทวนสัดส่วน Strategic Asset Allocation (SAA) หรือการจัดสรร Asset Allocation ระยะยาว ด้วยการทบทวนสมมติฐานและตัวแปรต่าง ๆ สำหรับ Black-Litterman Model โดยในช่วงต้นปี 2023 FINNOMENA FUNDS ได้ริเริ่มพัฒนาการการคาดการณ์ผลตอบแทนด้วยวิธีที่เรียกว่าการจัดทำ Capital Market Expectations (CME) หรือผลตอบแทนคาดการณ์ระยะยาวระดับ 10 ปีของแต่ละสินทรัพย์อย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งเป็นแนวทางแบบมาตรฐานสากลที่ใช้ในการทำ SAA ในกองทุนระดับโลก เพื่อให้มั่นใจว่าสมมติฐานที่นำไปข้อ Black-Litterman Model ได้รับวัถุดิบที่มีคุณภาพสอดคล้องกับหลักวิชาการ และลดปัญหาการเกิด garbage-in, garbage-out ของการใช้ Model ในการจัดสรร Asset Allocation
กระบวนการสร้าง CME และการนำ CME มาใช้ใน Black-Litterman Model
Source: FINNOMENA FUNDS as of 08/09/2022
การปรับพอร์ตนี้จะอ้างอิงผลตอบแทนที่คาดหวังจากข้อมูล CME ซึ่งเป็นการประมาณผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์จากข้อมูลต่าง ๆ FINNOMENA FUNDS ใช้ข้อมูลดังกล่าว ร่วมกับผลตอบแทนในอดีตของแต่ละสินทรัพย์ เป็นข้อมูลในการจัดพอร์ตตามโมเดล Black-Litterman โดยผลลัพธ์จากการทำ CME ล่าสุด ถูกแสดงในรูปด้านล่าง
ตัวเลขผลตอบแทนจากการทำ CME ในปี 2024 เทียบกับปี 2023
Source: FINNOMENA FUNDS as of 06/02/2024
ตัวเลขผลตอบแทนที่คาดหวังได้ในปี 2024 แสดงในแท่งสีส้ม เปรียบเทียบกับตัวเลขในปี 2023 แสดงในแท่งสีเทา มีสินทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ดังนี้
การประเมิน CME กระทำโดยการศึกษากรอบแนวทางการทำ CME จากกองทุนระดับโลกหลากหลายสำนัก ซึ่งมักจะเป็นระเบียบแบบแผนตามหลักวิชาการ อย่างไรก็ตาม เรามีการปรับแต่งสมตติฐานเป็นรายกรณีบางส่วน และพบว่าภาพรวมของผลลัพธ์มีความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับมุมมองเชิงคุณภาพตามมุมมองของทีมงาน
ต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ-บาท
Source: FINNOMENA FUNDS as of 23/02/2024
สำหรับรอบการปรับพอร์ตประจำปี 2024 FINNOMENA FUNDS แนะนำปรับรูปแบบการลงทุนในกองทุนหุ้นโลก จากเดิมที่ลงทุนผ่านกองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน มาเป็นกองทุนที่ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ด้วยเหตุผลหลักคือการปรับกลยุทธ์ดังกล่าว จะสร้างสมดุลระหว่างความผันผวนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกับความผันผวนของค่าเงินตลาดเกิดใหม่ ซึ่งมี exposure จากกองทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่ (EM Equity) รวมถึงค่าเงินบาทจากกองทุนอื่น ๆ ที่มีการลงทุนภายในประเทศ นอกจากนี้ ยังช่วยลดต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน (hedging cost) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง
เปรียบเทียบ Sharpe Ratio (S.R.) ของพอร์ตที่ใช้กองทุนหุ้นโลกแบบป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน เทียบกับกองทุนหุ้นโลกแบบไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน
Source: FINNOMENA FUNDS as of 13/02/2024
FINNOMENA FUNDS ได้ทำการเปรียบเทียบพอร์ตลงทุนที่ใช้การป้องกันความเสี่ยงค่าเงินในหุ้นโลก กับพอร์ตลงทุนที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน (ลงทุนผ่านสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) พบว่าผลตอบแทนที่คาดหวังเมื่อเทียบกับความเสี่ยง (วัดจาก Sharpe Ratio) ของการไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน สูงกว่าการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินอย่างมีนัยสำคัญ
เปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุน KKP GNP กับ KKP GNP-H
Source: FINNOMENA FUNDS as of 22/02/2024
FINNOMENA FUNDS จึงแนะนำสับเปลี่ยนกองทุนหุ้นโลก จากเดิมที่เป็น KKP GNP-H มาเป็น KKP GNP ซึ่งลงทุนในกองทุนแม่กองเดิม คือ Capital Group New Perspective Fund แต่ไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนจะไม่เสียค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนเข้า ในส่วนของเงินลงทุนที่มีการสับเปลี่ยนระหว่างสองกองทุนนี้
เมื่อนำผลลัพธ์จากการทำ CME ร่วมกับผลตอบแทนในอดีตของแต่ละสินทรัพย์ ไปทำการจัดพอร์ตโดยใช้โมเดล Black-Litterman ทำให้ FINNOMENA FUNDS มีการปรับสัดส่วนการลงทุนใหม่ในแต่ละแผน โดยทุกแผนจะมีการสับเปลี่ยนกองทุนจาก KKP GNP-H เป็น KKP GNP ทั้งหมด สำหรับการสับเปลี่ยนอื่น ๆ FINNOMENA FUNDS มีคำแนะนำในแต่ละแผนดังนี้
สัดส่วนการลงทุนในพอร์ต Goal
Source: FINNOMENA FUNDS as of 22/02/2024
สัดส่วนการลงทุนในพอร์ต 1st Million
Source: FINNOMENA FUNDS as of 22/02/2024
สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุนจัดทำโดย บลป.เดฟินิท สำหรับ บลน. ฟินโนมีนา (FINNOMENA FUNDS)
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299