4.0 K views
29 May 2023

 

เลือกกองทุนอย่างไรดี มีเยอะแค่ไหนก็ไม่งงวันนี้ เด็กการเงิน ขอรวมเคล็ดลับในการเลือกกองทุนรายตัว ไม่ว่าจะลงทุนสั้น/ยาว หรือนำมาจัดพอร์ต ต้องดูอะไรบ้าง?เราขอพามาเจาะ 3 ขั้นตอนสำคัญในการเลือกกองทุนให้ถูกใจ ใช่เลย ดังนี้เลือกกองทุนอย่างไรดี มีเยอะแค่ไหนก็ไม่งง

1. ศึกษาให้รู้ว่ากองทุนนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อะไร

ก่อนนำเงินของเราไปลงทุนในกองทุน ต้องตอบให้ได้ว่ากองทุนนั้นนำไปลงในสินทรัพย์อะไร? ไม่ว่ากองใหม่ กองเก่า ทุก บลจ. ต้องให้ Factsheet มา หน้าแรกจะบอกเลยว่า กองทุนจะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อะไร? ลงทุนตรง หรือลงทุนผ่านกองทุนต่างประเทศอีกทีสินทรัพย์มีหลากหลายชนิด ไล่ตั้งแต่ เงินสด ตราสารหนี้ หุ้น ทรัสต์ในอสังหาริมทรัพย์ และสินค้าโภคภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้มีลักษณะ ความเสี่ยง และที่รายได้ที่ต่างกัน เช่น

ตราสารหนี้

มาจากการกู้ยืม ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับการชำระหนี้ โดยเจ้าหนี้จะได้ดอกเบี้ยและเงินต้นจากการให้กู้ยืม (ไม่ว่าลูกหนี้จะเป็น รัฐ สถาบัน หรือ บริษัท)

หุ้น

ได้รายได้จากการทำกิจการ รายได้ขึ้นอยู่กับการขายสินค้า การลงทุน หุ้นจะขึ้นลงตามราคาในตลาด และผลตอบแทนจากการปันผล กองทุนหุ้นมีหลายแบบด้วยกัน เป็นกองทุนกระจายลงทั้งตลาด

ทรัสต์ในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน

รายได้แปรผันตามจากค่าเช่า และการบริการ โดยปกติถ้าไม่ใช่ COVID-19 แล้ว REIT มักจะมีความเสี่ยงพอ ๆ กับหุ้น คือราคาขึ้นอยู่กับการซื้อขายในตลาด และอัตราการปันผล

ทองคำ

ขึ้นลงตามเสถียรภาพของค่าเงิน ความมั่นคง และภาวะเศรษฐกิจ โดยมักจะเคลื่อนไหวตรงข้ามกับหุ้น เมื่อโลกเกิดความไม่แน่นอน ราคาทองคำจะขึ้น เป็นต้น

2. เลือกให้ตรงตามวัตถุประสงค์

เมื่อเรามีรายได้ และหักค่าใช้จ่ายจำเป็นออกแล้ว "การใช้เงินทำงาน" ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการเงิน ทำให้เรารู้ว่าต้องมีกองทุนแบบไหนในพอร์ตของเรา เอ.. หรือว่าถือตัวเดียวดี เรามี guideline มาฝากพักเงิน หรือปกป้องเงินต้น ให้เลือกกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูงลงทุนระยะสั้น ตามข่าว หรือรอบเศรษฐกิจ เราแนะนำให้เลือกกองทุนเป็นรายตัว รู้ว่าสินทรัพย์นั้นสัมพันธ์กับ catalyst อย่างไร ไม่ต้องจัดพอร์ตให้งงลงทุนเพื่อสะสมเงินก้อน เป้าหมายระยะกลาง/ยาว แนะนำให้จัดเป็นพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยง ทำพอร์ตให้มีผลตอบแทนสม่ำเสมอด้วยการทำ Asset Allocation มีสัดส่วนหุ้นมาก ยิ่งมีความเสี่ยงมาก แต่ก็จะได้ผลตอบแทนที่คาดหวังมากตาม เช่น กองหุ้นต่อตราสารหนี้ 60/40 70/30 หรือ 80/20 เป็นต้น ถ้าจะลงหุ้น 100 เลย เราแนะนำว่าต้องมีการเฉลี่ยต้นทุนเป็นประจำนะ เพราะจะไม่มีสินทรัพย์อื่นที่ช่วยในการ rebalance เวลาเราต้องการขายตราสารหนี้ ไปถัวเฉลี่ยกองทุนหุ้นตอนมันราคาตกลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณ (Retirement) และลดหย่อนภาษี ควรจะทำเป็นพอร์ตเช่นกัน ลงทุนในสิ่งที่ชอบและมีแนวโน้มการเติบโต ไม่มีกองทุนไหนมากเกินไป ที่เหลือคือการจัดสัดส่วน และนำกองทุนที่ชอบมาใส่ เหมือนจัดสวนเลยลงทุนเพื่อสร้างกระแสเงินสด เนื่องจากกองทุนเดียว สินทรัพย์ชนิดเดียวไม่อาจจะเป็นผู้ชนะตลอดไป การจัดพอร์ตจะทำให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอมากขึ้น จะได้นำกระแสเงินสดออกไปใช้ได้ แม้ในยามตลาดขาลงจะเห็นได้ว่ากองทุนเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยวางแผนทางการเงินเท่านั้น เรานี่แหละที่ต้องเลือกให้ถูก และให้มันได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่

3. เปรียบเทียบกองทุน ใน 5 มิติ

มาถึงหัวข้อสำคัญว่าเราเลือกกองทุนอย่างไร1. สไตล์การบริหารของกองทุน หลักการจัดพอร์ตของผู้จัดการกองทุนเป็นอย่างไร กลยุทธ์อะไรทำให้เค้าเอาชนะตลาดได้? กองนี้ดีกว่ากองอื่นอย่างไร? โดยเฉพาะกองทุน Active ซึ่งบางค่ายมีแนวทางชัดเจนมาก เช่น Baillie Gifford แต่ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ดังนั้นถ้าเรามีโอกาสได้อ่าน Factsheet ของกองทุน และฟังผู้จัดการกองทุนไลฟ์ตามที่ต่าง ๆ จะทำให้เราเข้าใจการบริหารกองทุนได้มากทีเดียว2. ผลงานย้อนหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีเป็นอย่างไร ผลงานมีความต่อเนื่องหรือไม่ (ไม่ฟลุ๊ก) และไม่ใช่เพียงผลตอบแทนอย่างเดียว ความผันผวนของกองทุนเป็นส่วนที่ต้องพิจารณาเช่นเดียวกัน ใช้ Sharpe Ratio ในการเปรียบเทียบระหว่างกองทุน รวมถึง Maximum Drawdown ในอดีตว่ากองทุนสามารถจัดการต่อสภาวะขาลงได้ดีแค่ไหน3. ความเสี่ยง เช่น ลงทุนกระจุกตัวในหุ้นหนึ่งตัว หรือในอุตสาหกรรมหนึ่ง ๆ เยอะเกินไปหรือไม่ (อ่านได้จาก Factsheet) และต้องพิจารณาความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศร่วมดัวย ว่ากองทุนนั้นมีการ Hedging แบบไหน4. ค่าธรรมเนียม ..ถ้าเราเจอกองสไตล์คล้ายกัน มีtrack record ที่น่าพอใจ แต่ความธรรมเนียมสูงไม่สมเหตุผลเมื่อเทียบกับ peer ก็ควรหลีกเลี่ยง แต่ถ้าต่างกันไม่มาก อาจจะเลือกกองที่เราถูกใจแทน ไม่ใช่เลือกต่ำกว่าเสมอไปนะ ดูสไตล์และความสามารถของกองทุนร่วมด้วย5. Rating หรือรางวัลของกองทุน อย่างเช่น MorningStar เป็นการแสดงให้เห็นถึงผลงานของกองทุนเมื่อเทียบกับความผันผวนว่าทำได้ดีแค่ไหนเมื่อเทียบกับกองประเภทเดียวกัน มีความต่อเนื่องในผลงาน *แต่ว่าตรงนี้อาจจะต้องเข้าใจด้วยผลตอบแทนในอดีตไม่ได้ยืนยันผลตอบแทนในอนาคต* ดังนั้นเรตติ้ง อาจจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการช่วยเปรียบเทียบกองทุนอีกเครื่องมือที่เราแนะนำคือ Percentile Ranking ที่ทำให้รู้ว่ากองทุนที่เราสนใจมีผลตอบแทนและความเสี่ยงเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับกองทุนประเภทเดียวกันทั้งหมดเด็กการเงิน DekFinanceที่มาบทความ: https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/pfbid0sPAPg7cYVQ4LkYA6rYbEV9g5FcgSsLnvxAtuHtgAhcF4qTX3cGZAMTcVQc27bWLel
คำเตือนผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299